วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561
"สันติภาพและความขัดแย้ง"มุมมอง"พระพรหมบัณฑิต"
"สันติภาพและความขัดแย้ง"มุมมอง"พระพรหมบัณฑิต" : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
คำว่า “สันติภาพ” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับภาษาไทย กล่าวถึงความหมายของสันติภาพไว้ดังนี้ “สันติภาพ” หมายถึง ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกันรักษาสันติภาพของโลก (ป. สนฺติ + ภาว) ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Peace” เป็นภาวะที่มีความสงบ ร่มเย็น เป็นประโยชน์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม ประเทศและโลก “สันติ” ความสงบ (ป,ส.ศานติ) “สันติ” (น) ความสงบ (มาจากศานติในภาษาสันสกฤต) เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ ซึ่งเป็นความหมายที่สอง เป็นภาวะของความสงบที่เกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนภายใต้กติกาที่ทำให้เกิดสันติ (Noble Discipline)
พระพรหมบัณฑิต(ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสประยูรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นพระเถระที่ที่สัมผัสกับคำว่า “สันติภาพ” มาเป็นเวลานาน ได้ให้ความหมายของคำว่า “สันติภาพ” ไว้ว่า “พระพุทธเจ้าได้รับการยอมรับว่า พระราชาแห่งสันติภาพ ดังที่ท่าน เจ ที ซันเดอร์แลนด์ ชี้แจงว่า ‘ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสันติภาพ แก่พุทธศาสนิกชนอย่างจริงจังและได้ผลอย่างยิ่งกว่าศาสนาสำคัญอื่นใดที่โลกรู้จัก’
คำว่า ‘สันติภาพ’ มีความหมายทั้งในเชิงปฏิเสธ และยืนยันในความหมายปฏิเสธ สันติภาพไม่เพียงแต่หมายถึงสภาวะที่ไม่มีสงครามและความขัดแย้ง แต่ยังหมายถึงสภาวะที่ไม่มีความรุนแรง ในโครงสร้างสังคม เช่น ความอยุติธรรม ความไม่เสมอภาคในสังคมการละเมิดสิทธิมนุษยชน การทำลายความสมดุลย์ทางนิเวศวิทยา ในความหมายเชิงยืนยัน สันติภาพหมายถึงสภาวะที่มี ความสามัคคีปรองดองเสรีภาพ และความยุติธรรม ดังนั้นคำว่าสันติภาพจึงหมายรวมถึงสภาวะที่ไม่มีความขัดแย้งเข้ากับสภาวะที่มีความสามัคคี หากผู้สร้างสันติภาพไม่เห็นพ้องต้องกันในคำจำกัดความอันครอบคลุมทั้งสองประเด็นนี้ พวกเขาจะไม่สามารถร่วมระดมสรรพกำลังเพื่อการเสริมสร้างสันติภาพ ขณะที่ผู้รักสันติภาพจากประเทศพัฒนาแล้วหมกมุ่นกับภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์และให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งแก่ปัญหาการแข่งขันอาวุธ ผู้รักสันติภาพจากประเทศกำลังพัฒนากลับให้ความสนใจปัญหาความอดอยากหิวโหย ความอยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้จะไม่มีจุดเน้นต่างกันเช่นนี้ ผู้สร้างสันติภาพจากทุกประเทศก็สาารถจับมือกันสร้างสันติภาพได้ ถ้าหากเข้าใจดีว่า สันติภาพมิได้หมายเพียงสาวะที่ไม่มีสงครามและความรุนแรงในโครงสร้าง แต่ยังหมายถึงสภาวะที่มีความสามัคคีและความยุติธรรม
ในโลกทัศน์ของชาวพุทธ คำว่า ‘สันติภาพ’ หมายรวมทั้งสันติภาพภายใจและสันติภาพภายนอก สันติภาพภายใจ (อัชฌัตตสันติ) ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ‘ความสงบใจ’ หมายถึงสภาพจิตใจที่เป็นอิสระจากความคิดหรืออารมณ์ที่กระสับกระส่ายอึดอัดรำราญ การบรรลุถึงบรมสันติภายใจจิตเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตที่ดีในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงหมายถึงความสงบชนิดนี้จึงตรัสว่า ‘นตฺถิ สันติปรํสุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี’ สันติในที่นี้เป็นลักษณะของนิพพาน”
พระพรหมบัณฑิต ได้เคยเดินทางไปปาฐกถาธรรมแสดง ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ ๑๖ ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก จัดขึ้นที่นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ ๑๙-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ และมีการเรียบเรียงเป็นหนังสือเรื่อง “พุทธวิธีสร้างสันติภาพ” โดยมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อสันติภาพอย่างเช่น “เมื่อประเทศถูกศัตรูรุกราน ชาวพุทธควรใช้กำลังป้องกันประเทศหรือไม่?
ในปัญหานี้ นักปราชญ์ชาวพุทธให้ทักศนะที่ขัดแย้งกัน นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า พุทธวิธีเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่มีอะไรนอกเหนือจากการเจรจาโดยสันติ ทั้งนี้เพราะการใช้กำลังรุนแรงเท่ากับฝ่าฝืนคำสอนของพระพุทธองค์ แต่นักปราชญ์ ท่านอื่นๆ เสนอว่า ชาวพุทธได้รับอนุญาตให้ใช้กำลัง ถ้าเป็นการใช้เพื่อจุดประสงค์ที่ดีงาม เช่น การปกป้องพระพุทธศาสนา พวกเขาเห็นว่า ชาวพุทธได้รับอนุญาตให้ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมและให้ทำลายอริราชศัตรู เพื่อพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ดังเช่นกรณีที่ครั้งหนึ่งพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยแห่งศรีลังกา อ้างพระพุทธศาสนามาสนับสนุน และเกี่ยวกับการสื่อสารโดยตรงเห็นว่า “การสื่อสารที่จะมีส่วนในการสร้างสันติภาพมีสองทางคือการสื่อสารเพื่อให้รู้จักคนอื่นอันที่สองก็คือให้เขารู้จักเราก็เป็นการแลกเปลี่ยน”
เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และมุมมองพระพรหมบัณฑิตในประเด็นดังกล่าว หลักสูตรสันติศึกษาปริญญาโทและเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้นิมนต์พระพรหมบัณฑิตบรรยายให้ความรู้แก่นิสิตและบุคคลทั่วไปในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2561 ที่ห้องสันติศึกษา มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เวลา 13.00 น.
..............
(หมายเหตุ : ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก”(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยาย: พิราบโรยรุ่ง
1. คำนำ บทบรรยายเปิดเรื่องเล่าถึงสถานการณ์สื่อมวลชนในยุคปัจจุบัน บทนำที่ให้ผู้อ่านรู้จักตัวละครหลัก "สันติสุข" นักเขียนผู้มากประส...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น