วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทวิเคราะห์การตัดสินใจเลือกตัวแทนทางการเมือง


ช่วงระหว่างการแย่งชิงกระแสนนิยมทางการเมือง ท่านรองพิจารณาดูว่า “#เงื่อนไขอะไรที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตัวแทนทางการเมือง” ขออนุญาตนำเสนอ “แนวคิดอรรถประโยชน์ทางการเมือง (Concept of Political Utility)” ทฤษฎีการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลอธิบายว่า โดยทั่วไปคนเราตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งบนพื้นฐานของการใช้เหตุผลเสมอ ในทางเศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคโดยใช้ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Theory) กล่าวคือ บุคคลย่อมตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการบนพื้นฐานของอรรถประโยชน์สูงสุดเสมอ อธิบายต่อว่า ในตลาด (ไม่ผูกขาด) สินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์ได้เหมือนกันมีหลายยี่ห้อ (สินค้าทดแทน) คนเรามักจะเลือกซื้อสินค้าและบริการยี่ห้อหนึ่งที่ให้อรรถประโยชน์สูงสุดท่ามกลางยี่ห้ออื่นเสมอ 
#อรรถประโยชน์ = มูลค่า (ผลประโยชน์เชิงรูปธรรม) + คุณค่า (ผลประโยชน์เชิงนามธรรม/ค่านิยม)
#อรรถประโยชน์มันอยู่ในตัวและบริบทของสินค้าและบริการนั้นๆ 
ตัวแทนการเมือง (นักการเมือง/พรรคการเมือง) อาจเทียบว่าเป็นสินค้าทดแทนทางการเมือง 
ดังนั้น “บุคคลย่อมจะตัดสินใจเลือกตัวแทนทางการเมืองที่ให้อรรถประโยชน์สูงสุดท่ามกลางตัวแทนทางการเมืองที่มีอยู่เสมอ” ในทีนี้ผู้เขียนเรียกอรรถประโยชน์ที่แฝงอยู่ในตัวแทนและบริบททางการเมืองว่า “อรรถประโยชน์ทางการเมือง (Political Utility)
#นิยาม 
อรรถประโยชน์ทางการเมือง หมายถึง สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวแสดงทางการเมือง กิจกรรมทางการเมือง บริบททางการเมืองที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจทางการเมืองของบุคคล (พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลอาจจัดแบ่งลำดับโดยสังเขปเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การเป็นผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง การเป็นผู้มีส่วนร่วมทางการเมือง และ การเป็นหุ้นส่วนทางการเมือง)

อรรถประโยชน์ทางการเมืองแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 
1#ทฤษฎีปัจจัยกำหนด (Deterministic Theories) ทฤษฎีนี้มีฐานคติว่าปัจจัยทางสังคมเป็นตัวกำหนดที่สำคัญของพฤติกรรมทางการเมือง หรือภูมิหลังของคนมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อพฤติกรรมการเมือง สิ่งเร้าตามทฤษฎีนี้ เป็นเรื่องการรวมกลุ่มกันทางสังคมวิทยาและสภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการจัดให้อยู่กลุ่มหรือประเภทเดียวกัน เช่น กลุ่มเครือญาติ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น 
2#ทฤษฎีจิตวิทยา (Psychology Theories) ปัจจัยทางด้านความรู้สึกหรือความผูกพันทางการเมือง หรือปัจจัยทางจิตวิทยา เช่น ความผูกพัน, ความจงรักภักดี, ความเชื่อ และ ความศรัทธา ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะตัวแสดงทางการเมือง เช่น ความศรัทธาในตัวนักการเมือง, ความศรัทธาในผู้ปกครองว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์, ความศรัทธาในพรรคการเมือง, ความรักและผูกพันในตัวแสดงทางการเมือง และความมีบุญคุณของนักการเมือง เป็นต้น 
3#ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theories) เป็นเรื่องของผลประโยชน์ต่างตอบแทน หรือตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ขึ้นอยู่กับความต้องการในผลประโยชน์การสูญเสียประโยชน์ การได้รับรางวัล และการได้กำไรเป็นความรู้สึกสำนึกพื้นฐานการตัดสินใจ สิ่งของต่างตอบแทนที่บุคคลได้รับทั้งที่เป็นเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เป็นวัตถุ หรือไม่ใช่วัตถุ สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการตัดสินใจก็ต่อเมื่อบุคคลมีพึงพอใจในสิ่งของต่างตอบแทนนั่นในระดับหนึ่ง 
4#ทฤษฎีความสำนึกเชิงเหตุผล (Consciously Rational Theories) ปฏิกิริยา ของความสำนึกตรึกตรองเชิงเหตุผล (Rational Framework) ของบุคคลที่จะตัดสินใจ ซึ่งเป็นเรื่องของคุณค่าสูงสุดที่แท้จริงที่หลอมรวมเอาทั้งในมิติของเศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมือง เช่น ผลประโยชน์ที่แท้จริงอย่างยั่งยืนต่อตนเอง ผลประโยชน์ที่แท้จริงอย่างยั่งยืนต่อสาธารณะ การความเกิดความเสียหายต่อส่วนร่วม หรือ กล่าวง่าย ๆ คือ เป็นความรู้สึกนึกผิดชอบชั่วดี แยกแยะดี หรือชั่วออกจากกันได้อย่างมีเหตุผล (Rationality) พิจารณาจากเหตุปัจจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มองการณ์ไกลตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบของการกระทำทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ไม่ใช่การอ้างเหตุอ้างผล (Reason) เพราะการอ้างเหตุอ้างผลเป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ซึ่งเหตุผลนั้นอาจจะไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (ทฤษฎี : Theory) การเข้าถึงความมีเหตุผล จึงจำเป็นต้องเข้าใจเส้นทางตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด (Times line) หรือ จิ๊กซอว์ (Jigsaw) ตั้งแต่ตัวแรกถึงตัวสุดท้าย ดังนั้นความสำนึกเชิงเหตุผลจึงจำเป็นต้องเข้าใจทฤษฎีต่าง ๆ พอสมควร เพราะทฤษฎีถือได้ว่าเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นจริงที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง
1. พฤติกรรมการตัดสินใจทางการเมือง : ผู้สังเกตการณ์ : ผู้มีส่วนร่วม : ผู้เป็นหุ้นส่วน (Political Decision) (การตัดสินใจทางการเมืองแบบวิถีประชาธิปไตย : แนวคิดและรูปแบบลักษณะ) http://www.kmutt.ac.th/…/pu…/Download/Format_Checker/3/5.pdf

2. สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเมือง (อรรถประโยชน์ทางการเมือง : Political Utility) (แนวคิดอรรถประโยชน์ทางการเมือง (Concept of Political Utility) https://www.parliament.go.th/…/a…/article_20170810120254.pdf

3. การประยุกต์ใช้อรรถประโยชน์ทางการเมืองเพื่อจูงใจต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง (Applying the Political Utility for Voting) (การประยุกต์อรรถประโยชน์ทางการเมืองผ่านการตัดสินใจเลือกตั้งและการจัดบริการสาธารณะ) 
https://www.tci-thaijo.org/…/cola…/article/view/116858/89802

cr.Sanya Kenaphoom นักวิชาการซายขอบ (นำไปวิเคราะห์สื่อได้)

2 ความคิดเห็น:

  1. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20171123105721.pdf

    ตอบลบ
  2. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20170810120254.pdf

    ตอบลบ

“หลวงพ่อเณร” ยินดีเป็นเจ้าภาพร่วมรัฐบาล ปรับภูมิทัศน์บูรณะพระประธานประจำพุทธมณฑล

วันที่ 19 พ.ย. 67  ที่วัดศรีสุดารามวรวิหาร  แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร  ดร.นิยม เวชกามา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตร...