วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"เณรนิสิตอินเตอร์มจร"ฟังดร.ญี่ปุ่นบรรยาย"ความท้าทายการศึกษาวัฒนธรรมหลากหลายในศตวรรษที่ 21"




วันที่ 16 ส.ค.2561 ดร.เคียวโก๊ะ โอบิซะ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น บรรยายเรื่อง "ความท้าทายการศึกษาวัฒนธรรมหลากหลายในศตวรรษที่ 21" ให้กับพระนิสิต นิสิต วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ในจำนวนนี้มีสามเณรที่สอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้คือสามเณรธีรวัต สาลีมา ป.ธ.3 อายุ 14 ปี (30 ต.ค.2546) สังกัดวัดโมลีโลกการาม กรุงเทพนครนคร เข้าเรียนระดับปริญญาตรีปี 1   (IBSC)นับเป็นนิสิต มจร อายุน้อยที่สุดในปัจจุบัน สามเณรธีรวัตเป็นคนภูมิลำเนา ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ โดยบวชภาคฤดูร้อนในโครงการสามเณรช่อสะอาดเย็นยิ้มร่วมฟังด้วย



พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ เลขานุการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เปิดเผยว่า ภายหลังที่ #วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติได้เชิญ ดร.เคียวโกะ โอบุสึ จากมหาวิทยาลัยโกเบ ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นศาสตราจารย์อาตันตุกะ ปรากฎว่า ได้มีคณาจารย์ และนิสิตของวิทยาลัย และจากคณะต่างๆ เข้ารับฟังกันอย่างคึกคัก โดยเครื่องนี้ เป็นการนำเสนอบทเรียนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม ภาษา ประเพณี ความเชื่อ และชาติพันธุ์ โจทย์ที่สำคัญคือ ในวิถีโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และมีการเคลื่อนย้ายของชาติพันธุ์ต่างๆ ทั่วโลกนั้น เราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้อย่างไร จึงจะไม่ให้สิ่งที่ไปใหม่กระทบ ท้าทาย และทำลายกับสิ่งที่มีอยู่เก่า และสิ่งที่มีอยู่เก่าจะเคารพต่อสิ่งใหม่อย่างไร


การเปิดประเด็นนี้ครั้งแรกในเทศกาลการเรียนการสอนที่เชิญศาสตราจารย์อาคันตุกะจากทั่วโลกมาบรรยาย วิทยาลัยมุ่งหวัง และเตรียมการให้นิสิตของวิทยาลัยที่เดินทางมาจากทั่วโลกได้เรียนรู้ และเข้าใจวิถีที่แตกต่างระหว่างกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมาอยู่ และศึกษาร่วมกันระหว่างพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา การเข้าวิธีคิด และแนวปฏิบัติ จะนำไปสู่การวางท่าทีถูกต้อง เคารพ ให้เกียรติ และถนุถนอมซึ่งกันและกัน แม้จะมีความแตกต่างกันเพศ นิกาย ภาษาและวัฒนธรรมก็ตาม เพื่อให้สอดรับกับพุทธดำรัสที่ว่า "ไม่ว่าน้ำจะไหลมาจากแม่น้ำสายใดก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วก็จะรวมกันเป็นน้ำในทะเลเดียวกัน" เช่นเดียวกันนิสิตทั้งหลาย ไม่ว่าจะมาจากนิกาย ความเชื่อ และวัฒนธรรมใดก็ตาม เมื่อมาอยู่ที่วิทยาลัยก็จะกลายเป็นครอบครัว IBSC ด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...