วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"ซุนตู่"แนะเน้นหลัก"รู้เขา รู้เรา" รุกเพื่อนบ้านประกาศสงครามการค้า




 "เราต้องรู้เขารู้เรา ตามหลักการสงครามของซุนวู แต่วันนี้ไม่ใช่เรื่องของสงครามที่เป็นการสู้รบด้วยกำลังทหาร แต่เป็นสงครามทางการค้าเมื่อรู้เขารู้เรา ก็ต้องหาความต้องการที่ตรงกันให้ได้ ระหว่างเรากับเพื่อนบ้านและทุกประเทศทั่วโลก 

หลายประเทศมีผู้นำรุ่นใหม่ คณะรัฐมนตรีใหม่ จึงอยากให้ทุกคนได้ติดตามศึกษาแนวคิดใหม่ๆของแต่ละประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแนวคิดประชาธิปไตยตะวันตก รวมถึงประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมโดยขอให้ศึกษารายละเอียดให้ดี สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่ยังอยู่ในกรอบไม่ต่างจากของเดิมมากนัก

ทุกกระทรวงต้องมี Big deta เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน โดยต้องมีการแยกประเภทฐานข้อมูลให้มีความชัดเจน ตรงกับความต้องการของประชาชน" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมายังกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างเอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ไทยประจำประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เมียนมา เวียดนาม และมาเลเซีย กับผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน 32 จังหวัด เพื่อมอบนโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนในมิติด้านการต่างประเทศ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาจังหวัดชายแดนของไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงรับฟังข้อเสนอของเอกอัครราชทูตไทยและผู้ว่าราชการจังหวัด  วันที่ 10 ส.ค.2561

ความจริงแนวคิดของซุนวูนั้นมีอยู่ 14 บท แต่เป็นบทที่เขียนรวมอยู่ใน 13 บท คือ รบโดยไม่รบ เป็นการรบแนวสันติ สอดคล้องกับพุทธสันติวิธีหรือตำราพุทธพิชัยสงครามตามแนว “อริยสัจโมเดล” ที่บูรณาการกับหมวดธรรมคือปธาน 4 สอดประสานกับหลักสันติวิธีตะวันตก ที่มุ่งเน้นการเน้นการสร้างสันติภายในเริ่มจากการปริยัติหรือสันติศึกษาภายในด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั้งเกิดสัมมาทิฐิ ว่า “โลกทั้งผองคือพี่น้องกัน” ก็จะทำให้เป็นนักสันติวิธีแบบวิถีชีวิต (Pacifism)  สามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงและสงคราม เกิดสันติภาพภายในแบบไม่มีความขัดแย้งภายใน ก็จะทำให้เกิดพลังทั้ง 5 คือศรัทธา วิริยะ  สติ  สมาธิ  และปัญญา 

การแก้ปัญหาความขัดแยง รุนแรง และสงครามไร้ตัวตนหรือหลบในของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกให้เกิดสันติภาพ ด้วยโมเดลต่างๆ โดยเริ่มจากหลัก “4ป.” ในพื้นที่ “บวร” เพื่อให้เกิด “ภาวนา4” ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือต้องมีหลักการ 4 คือความรู้คู่คุณธรรม เมื่อจะนำความรู้ไปใช้ในการสร้างสันติภาพต้องอยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไข 3 คือ ประมาณ เหตุผล และภูมิคุ้มกันความเสี่ยง แบบเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะทำให้นักพุทธสันติวิธีสามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงและสงครามได้ระดังหนึ่ง แต่การจะทำให้ “อริยสัจโมเดล” คงจะต้องมีการบูรณาการเข้ากับศาสตร์ใหม่ให้ทันกาล

เพราะ"พระพุทธเจ้าตรัสว่า  สิ่งใดมีค่ามากกว่ากันระหว่างน้ำกับชีวิตของคนความเกลียดหยุดได้ด้วยความรักเท่านั้น  อาวุธไม่สามารถยุติความเกลียดชังได้ นอกจากความเมตตาเท่านั้นถึงสามารถยุติ  ความเกลียดชัง สงครามเกิดจากใจของมนุษย์มิใช่เกิดจากอาวุธ  สันติภาพที่เกิดจากอาวุธหรือสงครามจะเป็นสันติภาพที่ไม่ยั่งยืน   มีคนกล่าวว่า...ถ้าเกิดสงครามครั้งที่ 3  สงครามครั้งที่ 4 ไม่รู้จะใช้อะไรเป็นอาวุธแล้ว เพราะมันทำร้ายกันตั้งแต่สงครามครั้งที่ 3 แล้ว จนไม่เหลืออะไรให้ทำร้ายกัน  ศาสนาพุทธเป็นสิ่งเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ เป็นปรัชญาของชีวิต สามารถพิสูจน์ได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น  ประเทศศรีลังกาจะขอเป็นเจ้าภาพจัดวิสาขบูชาโลกครั้งต่อไป" Dr.Wijeyadasa  Rajapakshe รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงพระพุทธศาสนา ประเทศศรีลังกา กล่าวในการปาฐกถาพิเศษในการประชุมชาวพุทธนานาชาติเริ่มขึ้นในวันที่ 22 พ.ค.2559  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก (International Council for the Day of Vesak) ประจำปี 2559 
          



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ไต้หวัน : จัดงานวิสาขบูชาอย่างยิ่งใหญ่

  เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567   เฟซบุ๊ก Suthito Aphakaro ได้โพสต์ข้อความว่า ไต้หวัน : จัดงานวิสาขบูชาอย่างยิ่งใหญ่  ในปีนี้ 10-13 พฤษภาคม 25...