วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561
นั่งสมาธิทุกวัน!'สุทธิชัย หยุ่น'คนข่าวยุคดิจิทัลวัย72ปี
หลังจากออกจากการเป็นผู้บริหารเครือเนชั่นได้ 4 เดือน 'สุทธิชัย หยุ่น' ให้สัมภาษณ์กับ Thairath Talk แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวในยุคดิจิทัลเหมือนเดิม โดยให้คำแนะวิธีเลือกประเด็นในการนำเสนอ " Storytelling" คือเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องทันสมัย ให้แรงบันดาลใจให้กับคนอื่นโดยเฉพาะเรื่องของการปรับชีวิต วิธีคิดให้มันทันกับความเปลี่ยนแปลง
"ดวงตาของนักข่าว" ที่มีแววตาที่ต้องการจะเปลี่ยนสังคมไปในทางที่ดีขึ้น นักข่าวที่ต้องการจะต้องมี (Nation way) ทำหน้าที่อย่างมืออาชีพ มีความรับผิดชอบ ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรม แล้วต้องการทำเนื้อหาที่ออกมาให้สังคมได้ประโยชน์ที่สุด เปลี่ยนสังคมไปในทางที่ดีขึ้น คือสิ่งที่ 'สุทธิชัย หยุ่น' จดจำประทับอยู่ในสมองเสมอ โดยมองว่า องค์ประกอบของข่าวที่ดี 1. น่าเชื่อถือ 2. เป็นประโยชน์ต่อสังคม 3. ตรวจสอบได้ 4. ส่งต่อได้ด้วยความมั่นใจว่ามันถูกต้อง เพราะทุกวันนี้มันมีแชร์ใช่ไหมครับ ที่ผ่านมาไม่มีแชร์ก็วัดกันไม่ได้ แต่ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณแชร์ได้อย่างถูกต้อง นั่นแหละคือคุณสมบัติที่ดี
มุมมองสื่อ
โซเชียลมีเดียสนใจยอด View Like กลายเป็นตัวกำหนดตัดสิน บางแห่งถึงขั้นที่ว่าเงินเดือนนักข่าวขึ้นอยู่กับว่าข่าวที่คุณเสนอได้กี่ Like, Like มากคุณรายได้ดี Like น้อยเงินเดือนต่ำ นักข่าวก็ต้องสร้าง Like วิธีสร้าง Like ไม่แบบละเอียด เจาะลึก ก็ทำข่าวขยะ ข่าวกระแส ข่าวที่สร้างความเกรียวกราวไม่มีคุณภาพ
ปัจจัยที่ทำให้สื่อไม่มีคุณภาพ
1. ติดกับนายทุน 2. ความไม่กล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ 3. ขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
ต้องกล้าที่จะต้านกระแส ปลีกตัวเองออกมาสร้างระบบใหม่ สร้างวิธีใหม่ ไม่ต้องใหญ่เล็กๆ สร้างเนื้อหาที่แปลกใหม่ที่คนต้องการ และลุยไปข้างหน้าโดยคิดแบบใหม่ เดี๋ยวนี้มันมีนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยคนทำสื่อได้
"ล่าสุดคือ Blockchain สามารถให้คนทำ Content กับผู้บริโภคเจอกันโดยตรง ไม่ต้องผ่าน Platform อื่นๆ ถ้าคุณมี Content ดี ผมยังเชื่อว่าผู้บริโภคพร้อมจะจ่ายตังค์ให้คุณโดยตรง อยู่ที่เราจะสร้าง Content ได้ไหม ถ้าผมช่วยได้ผมก็อยากจะช่วยตรงนี้ว่าคนทำสื่อที่มุ่งมั่นทำเนื้อหาที่มีคุณภาพ คุณไม่ต้องมีเรตติ้งสูง มี View มากหรอก คุณมีเรตติ้งมี View พอสมควร แต่คุณมีเนื้อหาที่คนอื่นไม่มี" เนื้อหาต้อง เร็ว ลึก กว้าง ต้องผสมผสาน อย่าง "สรยุทธ สุทัศนะจินดา" เล่าข่าวการเมืองผสมบันเทิง "กนก รัตน์วงศ์สกุล"เล่าข่าวให้ชาวบ้านได้เข้าใจ เพื่อสร้างแฟนคลับ "วงการสื่อ ทำจริง กล้าเสี่ยง ไม่กลัว กล้าทดลอง ขยันทำงาน รอดแน่นอน" "อาชีพคนข่าว ผมก็ยังเรียกตัวเองว่าเป็นคนบ้าข่าวอยู่นะ"
ดูแลสุขภาพออกกำลังกายเล่นเล่นบาส นั่งสมาธิก่อนนอน เดี๋ยวนี้สมาธิที่ไหนก็ได้ถ้าผมนั่งเฉยๆ ก็สมาธิเลย 5 นาที 10 นาทีก็ยังดี ก็ช่วยทำให้เราจัดระบบของเซลล์สมองให้เรียบร้อยแล้วก็เริ่มใหม่ได้
('สุทธิชัย หยุ่น', อันคัต! สุทธิชัย หยุ่น พูดถึง เลือกตั้ง การเมือง กนก และสรยุทธ https://www.thairath.co.th/content/1340170วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561)
สำหรับการนั่งสมาธินั้น 'สุทธิชัย หยุ่น' สนใจมานานอย่างช่วงทำรายการพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ พระเถระนิกายเซน ชาวเวียดนาม และกับพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี แห่งไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย และเชื่อแน่ว่าการตั้งสถานีช่อง "NOW"น่าจะมาจากพื้นฐานดังกล่าว ตามข้อมูลเรื่อง "เปิดความรักพระว.โลกทั้งผองพี่น้องกัน แนะแนวปฏิรูปสงฆ์เน้นสงเคราะห์โลก" ที่รายงานโดย สำราญ สมพงษ์ ขณะเป็นนิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร (http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/207979) ความว่า
ช่วงนี้สังคมไทยเกิดวิวาทะเกี่ยวกับการปฏิรูปคณะสงฆ์ว่า "จะควรรปฏิรูปหรือไม่ ควรปฏิรูปในช่วงไหนดี หากจะปฏิรูปใครจะมีหน้าที่ดำเนินการ" ดูประหนึ่งว่าจะมีการเอาสีเอากลุ่มเป็นตัวตั้งแทนที่จะมุ่งไปที่เนื้อหาหรือวิธีการที่จะปฏิรูปอย่างไร หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ ต่อไปแทนที่จะเกิดความปรองดองก็จะทีวีความแตกแยก
ท่ามกลางวิวาทะนั้น วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา วันแรกของการเปิดการเรียนการสอนหลักหลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) รุ่นที่ 3 ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร
ก่อนจะเข้าสู่บทเรียนนิสิตทั้งรุ่นที่ 2 และ 3 รวมถึงได้สวดมนต์เพื่อสันติและภาวนาเพื่อสันติ เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นได้เสริมสร้างจิตให้เกิดอภัยทานโดยการสมทานศีล 5 แผ่เมตตา และตั้งสัจจอธิษฐานด้วยการเปล่งคำ "สันติปณิธาน" ก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ภาคทฤษฎี
พระมหาหรรษา กล่าวว่า หลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษาได้ปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมของการศึกษามากว่า 3 รุ่นแล้ว เพื่อเสริมสร้าง "สติ" ให้ตื่นรู้อันจะทำให้เปิดพื้นที่ของใจให้ได้สัมผัสกับ "สันติ" ที่นอนนิ่งอยู่ภายในใจ และส่งต่อลมหายใจแห่งความสุขไปสู่เพื่อนร่วมโลกต่อไป
หลังจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "โลกทัศน์สันติภาพ" โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ประธานมูลนิธิวิมุตติยาลัย พระนักบรรยายนักเขียนชื่อดัง และเป็นมหาบัณฑิต มจร ที่ทำวิทยานิพนธ์ที่ลือลั่น เป็นที่รู้จักกันในนาม "ว.วชิรเมธี" แก่นิสิตของหลักสูตรทั้ง 2 รุ่น และมหาบัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้วซึ่งเป็นรุ่นที่ 1 ประมาณ 100 รูป/คน ร่วมรับฟัง
"พระว.วชิรเมธี" ได้กล่าวถึงความเป็นมาที่มีส่วนเข้ามาสัมผัสกับคำว่า "สันติภาพ" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "สันติภาพเชิงพุทธ" ช่วงที่ถูกนิมนต์ไปร่วมกิจกรรมกับเปลี่ยนสันติภาพกับ "หลวงปู่ติช นัท ฮันห์" เมื่อปี 2552 ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส จึงลาออกจากการเป็นอาจารย์ที่ มจร หลังจากนั้นได้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเป็น "ไร่เชิญตะวัน" เน้นด้านสุขภาพ และได้กลับไปที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศสอีกครั้งเพื่อทำสารคดีร่วมกับนายสุทธิชัย หยุ่น ช่วงที่อยู่ที่หมู่บ้านพลัมได้ซึมซับบรรยากาศทุกอย่างที่นั่นและจุดที่สนใจก็ถือนาฬิกาที่มีคำว่า "NOW" ซึ่งแปล "ขณะนี้ เดี๋ยวนี้"
"พระว.วชิรเมธี" ได้ให้ความหมายของคำว่า "สันติภาพ" ไว้ว่า ตามความหมายทั่วไปแล้วจะมีการแยกส่วนกันระหว่างคำว่า "สันติภาพ" กับคำว่า "สันติวิธี" ตามแนวความคิดแบบวิทยาศาสตร์ตะวันตก จึงทำให้นักสันติภาพบางคนมีชีวิตส่วนตัวอาจจะไม่มี "สันติภาพ" ก็ได้ แต่สำหรับความหมายในเชิงพุทธแล้วจะมองเป็นองค์รวมระหว่าง คำว่า "สันติภาพ" กับคำว่า "สันติวิธี" ดังนั้นนักสันติภาพจะต้องมีภาวะ "สันติภาพ" ภายในด้วย
"เมื่อนักสันติภาพทั่วโลกมองมีการแยกส่วน จึงทำให้หลายครั้งคนทำงานด้านสันติภาพไม่มีสันติภาพ เหมือนพัดลมเป่าให้คนอื่นเย็น แต่ตัวเองร้อน สันติภาพกับหนทางสันคิภาพจังเป็นเรื่องเดียวกัน แต่พระพุทธองค์ให้มององค์รวม เช่น พรหมวิหาร 4 ควรนำมาใช้ทั้ง 4 ประการไม่ใช่นำมาใช้ข้อใดข้อหนึ่ง อย่างเช่น "เมตตา กรุณา" คนไทยมักนำมาใช้ แต่พอ "มุทิตา" เห็นคนอื่นได้ดีกลับเฉย เพราะสังคมไทยมีลักษณะเป็นสังคมอิจฉากัน ยิ่ง "อุเปกขา" ยิ่งมึนใหญ่ไม่รู้จะเอามาใช้อย่างไรทั้งๆที่เป็นหลักการที่สำคัญ" "พระว.วชิรเมธี" กล่าว
สำหรับ"โลกทัศน์สันติภาพ" ในมุมมองของ "พระว.วชิรเมธี" ได้เกี่ยวกับการสร้างสันติภาพไว้ว่า (1) โลกทั้งผองพี่น้องกันควรรักและถนุถนอมกันโดยเป็นการแผ่เมตตาแบบไม่มีขอบเขต (2) ศัตรูคือมิตรสะกิดใจให้เราเข้มแข็ง ศัตรูแข็งกล้าเพียงใดยิ่งทำให้การสร้างบารมีได้ยิ่งใหญ่มากเพียงนั้น (3) อภัยทาน อย่าทำให้ใครกลัวเรา และพร้อมที่จะให้อภัยศัตรูของเราในทุกวินาทีแห่งลมหายใจ (4) สรรพสิ่ง และชีวิตต่างๆสัมพันธ์เป็นหนึ่งตามหลักปฏิจจสมุปบาท ควรเอาเขามาไว้ในใจเรา และเอาเราไปไว้ในใจเขา
"ถ้าเราแผ่เมตตาได้ เราสามารถรักคนทั้งโลกได้ ถ้าเราโลกทัศน์แคบ เราจะไม่สามารถรักคนทั้งโลกได้รักต้องคนทั้งโลกโดยไม่มีเงื่อนไข จิตใจไร้พรมแดน ชื่อเป็นสมมุติ ให้ทะลุความเชื่อของเรา ว่า เขาเป็นสิ่งมีชีวิต มองโลกทั้งผองเราเป็นพี่น้องกันสมมุติบัญญัติ คนส่วนมากติดสมมุติ ซึ่งการจะถอนสมมุติได้ต้องใช้วิปัสสนากรรมฐาน" "พระว.วชิรเมธี" กล่าวและว่า
ช่วงที่สังคมในประเทศศรีลังกาแตกแยกมีพระเขียนหนังสือ "พระพุทธเจ้ากลับมา อะไรจะเกิดขึ้น" โดยมีเนื้อหากล่าวถึงพระพุทธเจ้าออกไปบิณฑบาตตามบ้านต่างๆถึงบ้านหลังแรกชายหนุ่มถามว่า "ท่านอยู่พรรคไหน" เพราะติดในสมมุติบัญญัติ ก้าวข้ามพ้นนิกายไม่ได้ บ้านหลังที่สองถามว่า "ท่านได้ฟังอภิปรายหรือไม่ท่านสีอะไรชอบหรือไม่" บ้านหลังที่สาม มีชายนำน้ำมะพร้าวถวายและถามว่า "ที่ผ่านมาท่านก็แสดงธรรมบ้านหรือไม่ พระองค์ตรัสตอบว่า "เราไม่ได้แสดงธรรมเลย มีแต่คนถามเราว่า เราอยู่พรรคไหน เพราะคนเหล่านั้นติดสมมุติสัจจะ เราจึงไม่สามารถสอนเขาได้" สิ่งมีชีวิตทั้งผอง รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวตาย นี่คือ หลักของสิ่งมีชีวิต แม้แต่คน สัตว์ พืช ถ้าเราคิดแบบนี้ เราจะไม่สามารถทำร้ายใครได้เลย มองข้ามพรรคการเมืองที่ชื่นชอบได้
"พระว.วชิรเมธี" กล่าวถึงสังคมไทยที่มีความขัดแย้งกันนั้นส่วนหนึ่งมาจากการศึกษา พร้อมกันนี้ยังเกิดจากความยากจน การถูกหยามเกียรติ การถูกท้าทาย ผลประโยชน์ ขยะขี้มูลข่าวสารใส่ร้ายกัน วาจารุนแรง ความโกรธจุดติด การเหยียดสีผิว การแย่งชิงทรัพยากร แบ่งแยกแล้วปกครอง ฉะนั้นการศึกษาเป็นสาเหตุเล็กๆ แต่ "ลีกวนยู" สร้างชาติสร้างประเทศสิงคโปร์ให้เจริญรุ่งเรืองด้วยด้วยการศึกษา
ส่วนแนวทางการปฎิรูปสงฆ์"พระว.วชิรเมธี" มองว่า คณะสงฆ์ที่อยู่รอดได้จนถึงทุกวันนี้ก็เพราะผลจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งที่สามารถเชื่อมกับคนรุ่นใหม่ได้ จะอาศัยการศึกษาแผนเดิมอย่างเดียวไปไม่รอดแน่ ดังนั้นแนวทางการปฎิรูปเพื่อให้อยู่รอดนั้นนอกจากจะต้องมีธุระ 2 ประการคือ คันถธุระศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานซึ่งอาจจะทำให้คณะสงฆ์หันหลังให้สังคมได้แล้ว จะต้องมีธุระอีกประการหนึ่งคือ "สังคหธุระ" คือการออกไปช่วยเหลือทางสังคม ดูอย่างพระพุทธศาสนาที่ไต้หวันมีชาวพุทธเป็นจำนวนมากโดยมีพุทธสมาคมที่ชื่อว่า"พุทธฉือจี้" ให้ช่วยเหลือสังคมสร้างโรงพยาบาลให้การศึกษาจึงทำให้มีกองทุนรวมช่วยเหลือสังคมเป็นหมื่นล้านบาท
ในภาวการณ์ที่สังคมไทยยังมีความแตกแยกกันเช่นนี้น่าจะมีพระไทยเขียนหนังสือชื่อ "พระพุทธเจ้ากลับมา อะไรจะเกิดขึ้น" คงจะเป็นหนทางให้เกิดการปรองดองได้บ้าง และทำให้สังคมไทยจะถอนสมมุติต่างๆออกไปได้บ้าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"ดร.มหานิยม" ร่วมประชุมบอร์ดการศึกษาพระปริยัติธรรม "สมเด็จชิน" เป็นประธาน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองธรรมสนามหลวง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น