วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561
โลกยุคดิจิทัลวุ่นวายหนอ!สันติศึกษาสงบหนอ!
วันที่ 6 ส.ค.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และหลักสูตรสาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso ความว่า #ความหมายของชีวิต
ทำไม?!? จึงตัดสินใจมาเลือกเรียน "สาขาสันติศึกษา" นิสิตแทบทุกคนตอบค่อนข้างจะตรงกันว่า "เพราะคำว่าสันติ" คำตอบนี้สะท้อนอะไร?!? ชีวิต สังคม และโลกปัจจุบันนี้ กำลังขาดแคลนสันติหรือความสงบอย่างรุนแรง คนกลุ่มหนึ่งจึงเพรียกหาสันติ และในอดีต หนึ่งในคนเหล่านั้น คือ "เจ้าชายสิทธัตถะ" เมื่อพบสมณะ จึงพบคำตอบว่า "ความสงบ" เป็นทางรอด
โลกยุคดิจิทัล แม้ชีวิตจะมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ความสงบกลับลดน้อยถอยลง ชีวิตที่เร็ว และแรงกลับไม่ใช่คำตอบทั้งหมด ชีวิตที่ช้าลง เบาลงกลับเป็นอีกคำตอบที่บางคนเฝ้าถวิลหา ชีวิตบางคนเต็มไปด้วยการแย่งชิงวัตถุ แสวงหาอำนาจ เบียดเบียน และเข่นฆ่า และทำทุกวิถีทางเพื่อให้มาโดยไม่ใส่ใจว่าจะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ผู้อื่น แต่ชีวิตบางคนเพียรพยายามที่จะให้ เคารพ ใส่ใจ และแบ่งปัน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดที่จะได้ตามมา
สันติศึกษา มจร จึงเป็นวิชาชีวิต วิชาที่เสริมสร้างความหมายให้แก่ชีวิต ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่มิได้มุ่งหวังใช้ปริญญานอกเป็นใบเบิกทางเพื่อแสวงหา "กิน กาม เกียรติ" หากแต่มุ่งหวังที่จะใช้ปริญญาในชี้ทิศนำทางไปสู่ "ความสะอาด สงบ และสว่าง" เพราะคนเหล่านี้กำลังตีบตันกับหนทางที่ถูกฉาบทาด้วยกิน กาม เกียรติ ดังเช่นเจ้าชายสิทธัตถะเคยประสบ ชีวิตจึงเลือกที่จะแสวงหาคุณค่าและความหมายบางอย่างบนเส้นทางแห่งความสันติสุข
ชีวิตจึงมักจะมีทางเลือกที่แต่ละคนพยายามหยิบยื่นให้แก่ตัวเองเสมอ มีเส้นมากมายที่หลายคนไม่เคยเดิน มีสถานที่อีกมากมายที่เราไม่เคยไป มีอาหารอีกหลายอย่างที่เราไม่เคยชิม มีคุณค่าบางอย่างอย่างที่เราไม่เคยได้สัมผัส การที่คนกลุ่มนี้พัดพาชีวิตของตัวเองมาเลือก "สันติศึกษา" จึงเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของชีวิต
เล็กๆ ที่ว่าใช่ ดีกว่าใหญ่ที่กลวง หรือ Less is More. จึงเป็นสิ่งที่สามารถสนองตอบต่อการค้นหาความหมายชีวิต ชีวิตไม่ต้องมาก ขอให้น้อย ค้นหาความน้อย ความหมายที่คม และลึกซึ้ง แต่ทำให้มาก ทุ่มเทให้มาก ความน้อยนั่นเองจะเกิดพลังอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งแก่ชีวิตของตัวเอง และขยายพื้นที่ออกไปในสังคม น้อยที่ใช่ จึงมีค่ายิ่งกว่าความใหญ่ที่กลวงเปล่า ผู้ที่เป็นแบบอย่างของแนวนี้ คือ "พระพุทธเจ้า"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
หนังสือเรื่อง: "อินฟลูเอนเซอร์วิถีพุทธสันติวิธี: แนวทางสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสังคมสันติสุข"
การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในยุคดิจิทัลเพื่อสร้างความสงบและยั่งยืนในสังคม คำนำ ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตป...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น