วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561
โพสต์แชร์ชมตรึมภาพงูรัดกัดเลื่อย!มีคติสอนใจสังคมออนไลน์
ภาพงูรัดกัดเลื่อย! มีการแชร์กันมากในสังคมออนไลน์ พร้อมกับให้ข้อคิดดีมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมออนไลน์ ความว่า เรื่องเล่า จาก งูตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปในโรงไม้ มันไถลเลื้อยข้ามเลื่อยใบหนึ่ง มันเจ็บปวดมาก เลยหันหัวแว้งฉกกัดเลื่อย. แต่กลับทำให้ปากมันมีแผลเหวอะโดยไม่ได้ยั้งคิด มันกลับเข้าใจว่า มันกำลังถูกจู่โจมโดยเลื่อย. มันตัดสินใจ เลื้อยโอบรอบตัวเลื่อย แล้วจัดการรัดเจ้าเลื่อยอย่างเต็มกำลัง. แต่สิ่งที่ได้ คือ มันกลับถูกเลื่อยฆ่ามันตายในที่สุด
อย่าคิดว่าตัวเองแน่ แล้วใช้อารมณ์ เพราะบางปัญหา อารมณ์ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ บางทีอาจจะคิดว่าการบาดเจ็บเกิดจากคนอื่น แต่จริงๆ อาจจะเกิดจากจุดอ่อนตัวเอง
ข้อคิด
ในบางครั้ง เราตอบโต้ความโกรธ ด้วยการคิดทำร้ายคนๆนั้น แต่เราไม่ได้ฉุกคิดเลยว่า ในที่สุดแล้ว เรากลับกำลังทำร้ายตัวเองอยู่
ในชีวิตจริง บางทีมันจะดีกว่า ถ้าเราไม่สนใจต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ไม่สนใจคนพวกนั้น ไม่สนใจพฤติกรรมเหล่านั้น แม้แต่คำพูดของพวกเขา
ในบางครั้ง มันจะดีซะกว่า หากเราไม่โต้ตอบ เพราะมันอาจจะไม่ใช่แค่ ได้ผลลัพท์ที่เลวร้าย แต่อาจเป็นภัยที่ร้ายแรงขั้นถึงชีวิตกันเลยที่เดียว
อย่าปล่อยให้ความโกรธครอบงำชีวิตคุณ แต่กลับเป็นความรัก ที่อยู่เหนือทุกสิ่ง
จงยิ้มเข้าไว้ แผ่ความสุขในตัวคุณออกไป
นี่คือ กฎของธรรมชาติ
อาหารที่เรากิน จะถูกย่อยและถูกขับออกไปภายใน 24 ชม. ไม่เช่นนั้น เราจะป่วย
น้ำที่เรากิน เข้าสู่ภายในร่างกาย และจะถูกขับออกมา ในอีก 4ชม. ไม่เช่นนั้น เราจะไม่สบาย
อากาศที่เราหายใจเข้าไป จะถูกดันออกมา ในเวลาแค่ 1 นาที ไม่เช่นนั้น เราก็จะตาย...
แล้วนับประสาอะไรกับอารมณ์ที่ไม่น่าพิศมัยต่างๆ เช่น ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความหวั่นไหวในจิตใจทั้งหลาย. แต่เรากลับเก็บสิ่งพวกนี้ไว้กับเรา เป็นแรมเดือนแรมปี
หากอารมณ์แย่ๆทั้งหลายยังไม่ถูกกำจัดออกไปจากใจเรา. มันก็จะกัดกร่อนจิตใจส่วนดี และทำให้ร่างกายนี้เจ็บป่วยตามไปด้วย
การมีสติ กลับมารู้สึกตัว ถือเป็นวิธีที่ไวและให้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด ในการชนะอารมณ์ลบๆในจิตใจของเรา.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น