วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

หาเสียงเลือกตั้งแบบเนียนๆอย่างไรถูกกฎหมาย?



         
คำว่า หาเสียง หมายถึง แสวงหาคะแนนนิยมจากประชาชน หรือสมาชิกของชุมชน เพื่อได้คะแนนโหวตในการเลือกตั้ง   คำว่า เสียง ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเสียงที่ได้ยินด้วยหู  แต่หมายถึงความนิยม หรือคะแนนที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้รับจากประชาชนหรือสมาชิกของชุมชนนั้น คำว่า เสียง ในความหมายนี้มัก ปรากฏกับคำอื่น เช่น  คะแนนเสียง  ฐานเสียง  เสียงข้างมาก  เสียงส่วนใหญ่  ซื้อเสียง  ขายเสียง  ออกเสียง

          
ตัวอย่างการใช้คำว่า หาเสียง เช่น ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ใช้วิธีหาเสียงโดยเดินเข้าไปพบปะประชาชนในชุมชน.   พรรคการเมืองทั้งหลายต่างใช้กลยุทธ์เด็ดในการหาเสียง.  การหาเสียงโดยแจกเงินประชาชนเรียกว่า การซื้อเสียง ถือว่าเป็นการทุจริต.  นักการเมืองบางคนให้สัญญาตอนหาเสียงว่าจะทำอะไรหลายอย่างให้ประชาชน แต่หลังจากได้รับเลือกตั้งแล้วก็ลืมที่สัญญาไว้

ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความสถาบันพระปกเกล้า ผู้เรียบเรียงบทความเรื่อง "การหาเสียงเลือกตั้งอย่างเปิดเผยตามกฎหมาย"  ไว้ว่า 

การหาเสียงเลือกตั้งอย่างเปิดเผยหรือเป็นทางการ หมายถึง การหาเสียงเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้ง ด้วยวิธีการที่เป็นไปตามบทบัญญัติของ[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาวุฒิสภา]] และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง รวมทั้งประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการหาเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการนี้ ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง สามารถดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

(1) แจกเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งในเขตชุมชน สถานที่ต่าง ๆ หรืองานพิธีการต่าง ๆ โดยเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งสามารถมีรูปถ่าย หรือข้อความเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร

(2) ใช้พาหนะในการหาเสียงเลือกตั้ง หรือจัดสถานที่หรือเวทีเพื่อโฆษณาหาเสียง นอกเหนือจากการจัดสถานที่โฆษณาหาเสียงหรือเวทีกลาง ตาม[[ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550]]

(3) ใช้เครื่องขยายเสียงเพื่อช่วยในการหาเสียงเลือกตั้ง

(4) จัดทำแผ่นป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งโดยมีชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำตัวผู้สมัครรูปถ่ายที่เกี่ยวกับตัวผู้สมัคร

(5) จัดหาเสื้อผ้า สิ่งของ เลี้ยงอาหารหรือเครื่องดื่ม สำหรับบุคคลผู้ช่วยในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยต้องแจ้งรายชื่อและจำนวนบุคคลผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบด้วย

(6) โฆษณาหาเสียงเลือกตั้งผ่านทางเว็บไซต์ จดหมาย สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(7) จัดทำเอกสารที่มีการกากบาทในช่องลงคะแนนเลือกตั้งให้กับตนเองหรือผู้สมัครอื่นเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งให้กับตนเองหรือผู้สมัครอื่นได้ แต่การจัดทำเอกสารดังกล่าวต้องไม่มีขนาดลักษณะ หรือสีที่คล้ายกับบัตรเลือกตั้ง

ในระหว่างดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น พรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ควรมีการจัดฝึกอบรมให้กับบุคคลผู้ช่วยในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งอย่างถูกต้อง

(2) หลีกเลี่ยงการใช้วิชาชีพหรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับรายการวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง สื่อสารมวลชน สื่อโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร สื่อมวลชน เป็นต้น เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งแก่ตนเอง ผู้สมัครอื่นหรือพรรคการเมืองใด ในช่วงที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงวันเลือกตั้ง

(3) ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ

นอกจากนี้ ในการหาเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งยังต้องปฏิบัติตามข้อห้ามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ ข้อห้ามมิให้ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กระทำการหรืออาศัยผู้ใดกระทำการแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการวางหรือโปรยในที่สาธารณะ ข้อห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการการเมืองที่มีอำนาจบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีสถานีอยู่ในสังกัด หรือในกำกับ สั่งหรือกระทำการด้วยประการใด ๆ ให้สถานีนั้นกระทำการเพื่อประโยชน์ในการโฆษณาหาเสียงอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ข้อห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งโฆษณาหาเสียงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมให้กับผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดในรายการของสถานี เว้นแต่การรายงานข่าวหรือการวิเคราะห์ข่าวของสถานีหรือผู้ใดตามหลักวิชาชีพที่ดำเนินการด้วยความเป็นกลาง และข้อห้ามมิให้ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากรัฐซื้อหรือเช่าเวลาหรือรายการของสถานี หรือทำให้ได้มาซึ่งเวลาออกอากาศทางสถานี เพื่อโฆษณาหาเสียง 

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.,http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การหาเสียงเลือกตั้งอย่างเปิดเผยตามกฎหมาย,http://www.cityvariety.com/contents_old/detail/8163

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รูปแบบการเรียนภาษาบาลีของพระสงฆ์เมียนมา ที่คณะสงฆ์ไทยจะนำมาเป็นต้นแบบ

เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2568  ที่ห้องประชุมโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระปิ่นเกล้า ชั้น 2 วัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พระธรรมว...