วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทเรียนยูทูบเบอร์จุดประทัดลูกบอล สะท้อนขาดหลักการสื่อสารสันติภาพเชิงพุทธ


สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

ตามที่สังคมออนไลน์วิจารณ์คลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์แอคเคาท์หนึ่งที่ทำคลิปแกล้งผู้อื่นด้วยการจุดประทัดลูกบอลปลอมในที่สาธารณะว่า เป็นพฤติกรรมที่แย่ ไม่สนุกและไม่สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นเเละนำพาไปสู่อุบัติเหตุได้ เนื่องจากบางคนอาจตกใจวิ่งเเล้วหกล้มหรือถูกรถชนได้


ต่อมาเจ้าของที่ทำคลิปถูกตำรวจปรับ 500 บาท และบอกว่า ไม่ได้ต้องการให้ใครเกิดอันตราย ทำเพื่อให้เกิดความบันเทิงเท่านั้น และต่อไปนี้ก็จะปรับปรุงให้เหมาะสมมากขึ้น


วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้อธิบายไว้ว่า ยูทูบเบอร์, ยูทิวบ์เบอร์, บุคคลในยูทูบ (อังกฤษ: YouTuber) เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมในสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นนักอัปโหลดสื่อวิดีโอผ่านเว็ปไซต์ที่สามารถแบ่งปันวิดีโอได้ เช่น ยูทูบ บางครั้งยูทูบเบอร์จะได้รับการสนับสนุนจากองค์การที่เข้ามาว่าจ้างที่ให้สินค้าของตน หรือเป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์สินค้าอยู่ในสื่อวิดีโอของยูทูบเบอร์ที่ถูกว่าจ้างเป็นบางครั้ง


ยูทูบเบอร์ถือว่าเป็นอาชีพที่สามารถประชาสัมพันธ์และสร้างความบันเทิงสนุกสนานกับคนกลุ่มอายุ 18-34 ปีทั่วไป ในปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยเซาส์เทร็นแคลิฟอร์เนียได้ออกสำรวจพบว่ากลุ่มเด็กอายุ 13-18 ปีในสหรัฐ พบว่ามีเยาวชนในช่วงอายุนี้ติดอันดับยูทูบเบอร์ที่ดัง 10 อันดับ หรือยูทูบเบอร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด 10 อันดับ  ยูทูบเบอร์ติดอันดับจากการจัดอันดับของสโมชลำดับที่ 5 กับอาชีพที่มีอิทธิพลมากที่สุด ในการจัดอันดับในปี พ.ศ. 2558 มียูทูบเบอร์ 6 คนติดอันดับที่ 1 จากการสำรวจของเคเอสไอว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดยูทูบเบอร์ถือว่าเป็นอาชีพที่ทำให้ผู้สร้างสื่อวิดีโอเข้าถึงผู้ดูสื่อได้อย่างง่ายดายโดยยูทูบ 

จากการเปิดเผยของยูทูบเบอร์รายนี้ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่าแสนราย  มีเป้าหมายคือสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมเท่านั้น ไม่คำนึงถึงจุดอื่นๆ  

หากพิจารณาตามหลักของการสื่อสารมีแนวคิดที่เป็นหลักคือการสื่อสารเพื่อสันติภาพและการสื่อสารเชิงพุทธซึ่งก็เป็นหลักเดียวกับหลักการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สำหรับแนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติตามแนวคิดของ “โยฮัล กันตุง” นักวิชาการสันติภาพ ประกอบด้วย 1.สื่อเพื่อสันติภาพมุ่งเน้นเรื่องสันติภาพ  2.สื่อเพื่อสันติภาพมุ่งเน้นรายงานความจริง 3.สื่อเพื่อสันติภาพมุ่งเน้นรายงานเสียงจากประชาชนทั่วไปและเหยื่อ 4.สื่อเพื่อสันติภาพให้น้ำหนักในเรื่องทางออกของความขัดแย้ง 

ขณะที่การสื่อสารเชิงพุทธคือหลัก “วาจาสุภาษิต” ประกอบด้วย 1.การสื่อสารที่สอดคล้องกับกาลเทศะ 2.การสื่อสารที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง 3.การสื่อสารที่ไพเราะอ่อนหวาน 4.การสื่อสารที่เสริมสร้างประโยชน์สุข 5.การสื่อสารที่ประกอบด้วยเมตตา 

นับได้ว่าแนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติภาพมีองค์ประกอบสอดรับกับหลัก “วาจาสุภาษิต” แต่มีจุดเด่นคนละมิติ โดยการสื่อสารทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อออนไลน์มีจุดเด่นด้านมิติแห่งกาลเวลาต้องฉับไวทันทีมุ่งกระจายข้อมูล ขณะการสื่อสารเพื่อสันติภาพมีจุดเด่นด้านมิติของการมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ต่อสังคม แต่มีจุดด้อยด้านกระบวนการซึ่งการสื่อสารทั่วไปพิจารณาเพียงมีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็นำเสนอแล้ว ขณะที่การสื่อสารเพื่อสันติภาพค่อนข้างสอดคล้องกับหลักการและรูปแบบแห่งวาจาสุภาษิตแต่ติดขัดด้านองค์ประกอบอื่นอย่างเช่นรายได้ของผู้ส่งสาร

อย่างไรก็ตามจากองค์ประกอบ 5 ประการจของ“วาจาสุภาษิต” นั้น พระพุทธเจ้าจะตรัสหรือสื่อสารเพียง 2 กรณีเท่านั้น คือ คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาตรัส และคำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาตรัส

หากผู้ส่งสารยูทูบเบอร์ที่ส่งสารผ่านสื่อออนไลน์คือยูทูบนำหลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพและการสื่อสารเชิงพุทธแล้ว จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและสังคมอย่างแน่นอน

..............
(หมายเหตุ : ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก”(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22

  วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ อั...