วันที่ 10 ต.ค.2561 เฟซบุ๊ก Uthit Siriwan ได้โพสต์ข้อความโดยสรุปว่า การเผยแผ่ธัมมะของพระว. วชิรเมธี มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และแตกต่าง เป็นต้นแบบและตัวแบบการเผยแผ่ธัมมะ ยุคดิจิทัล วงการอื่นๆก็นำไปปรับใช้ได้ เพราะ"การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล" ที่โลกทุกวันนี้ เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เพราะแรงขับเคลื่อนจากกระแสสำคัญ ๒ กระแส กระแสแรกคือ กระแสโลกาภิวัตน์ แปลตรงตัวว่า "โลกไร้พรมแดน" กระแสที่ ๒ คือ กระแสการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ดังนั้นการจัดการศึกษายุคดิจิทัลต้องทันสมัยขับเคลื่อนด้วย "นวัตกรรมความคิด" 3T คือ T1 คือ Transportation
การคมนาคมขนส่งยุคใหม่
เข้าสู่โหมด "การค้าออนไลน์" เต็มตัว
อนาคต การจัดการศึกษา
จะต้องมีพื้นฐานอิงกับ
"แอ็พพลิเคชัน"
"เว็บ"
"ยูทูบ"
"ห้องสมุดออนไลน์"
กูเกิล เป็นต้น
T2 คือ Tourism
การดูแลนักท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมอาหาร
เครื่องบิน
วัดวาอาราม
สมาธิ
สปา
หาดทราย
สายลม
แสงแดด
ภูเขา
น้ำตก
ขี่ช้าง
มีครบ
ญี่ปุ่นยุคดิจิทัลลืมอดีตเกลียดจีนทุ่มสุดตัวเพื่อเอาใจนักท่องเที่ยวจีน
T3 คือ Talent
การจัดการศึกษายุคดิจิทัล
ต้องฝึกหัด
ฝึกอบรม
พัฒนา
กายกรรม
วจีกรรม
มโนกรรม
ควบคู่กับ
วิชาการ
ต้องสอนโดยไม่ต้องสอน
การเรียนรู้ยุคใหม่อาจทำได้หลายแบบ
ที่แน่ๆเลย
การศึกษาต้องเปลี่ยน
นิสัย สันดาน และพฤติกรรมคน
ส่วนตัวผมมองว่า
ตัวแบบหรือต้นแบบ
น่าสนใจพอๆกับ
“หลักปัญญา”
ปัญญา
เกิดจากฟัง คิด และนึกทบทวน
และ “อ่าน”
Talent เกิดจาก
กล้าคิด
กล้าฝัน
กล้าหวัง
กล้าเปลี่ยนแปลง
ยุคดิจิทัล
การจัดการศึกษา
ต้องอยู่เหนือการ “ติว”
การศึกษายุคดิจิทัล
ใช้ไอทีเพื่อการเรียนรู้ได้
ไหวพริบปฏิภาณ
ยังเกิดจาก “ฝึก”
การฝึกเด็กให้ทำแบบทดสอบชีวิต
แก้โจทย์ยากในชีวิต
การฝึกให้เด็กหิวบ้าง
อึดอัดบ้าง
อดทน
เข้มแข็ง
ยอมคนให้เป็น
พยายาม
ต่อสู้
เอาตัวรอดให้ได้
แก้ตัว
แก้ต่าง
แก้ไข
ไม่หนีปัญหา
มองวิกฤตเป็นโอกาส
เด็กๆจะเก่ง
นิสัยเปลี่ยนได้จริงจัง
ด้วยหลักธรรมง่ายๆ
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
บารมี ๑๐
หลักโยนิโสมนสิการ
หลักอิทธิบาท ๔
หลักกรรม กิเลส วิบาก
ผมไม่เห็นด้วยกับ
แนวคิด “น้ำเปลี่ยนนิสัย”
นิสัยคนเปลี่ยนได้ด้วยการฝึกจิต
ทาน
สีล
ภาวนา
เป็นหลักปฏิบัติง่ายๆ
การแนะนำ “หนังสือ” ที่น่าอ่าน
“คนต้นแบบ”
“องค์กรต้นแบบ”
เป็นหลักการในการ
สร้าง talent
Trend คือแนวโน้ม หรือกระแส
แนวโน้มสำคัญที่เกี่ยวพันกับการศึกษาคือ
๑. สังคมผู้สูงอายุ แนวโน้มคนไทย
๒. นวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย
๓. Smart City
๔. โลกส่วนตัวสูง
๕. เศรษฐกิจและการเมืองเปลี่ยนขั้วรวดเร็ว
๖. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
Mega trends ของโลก
Time เวลา
“การจัดการศึกษาให้จบแล้วทำงานเป็นมีเงินใช้”
ไม่ต้องมาฝึกอบรมซ้ำซากเป็นตัวอย่างให้เรียนรู้
ขั้นตอนที่ ๑ กำหนด "จุดมุ่งหมาย"ร่วมกัน ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
เพราะเด็กรุ่น Gen Y Gen Z คนรุ่นใหม่ "เบื่อหน่าย" ห้องเรียน
การแบ่งเวลาเป็น
กฎ ๘๐/๒๐ ของพาเรโต
และใช้กฎ ๘/๘/๘ นอน๘ ชั่วโมงทำงานหลัก ๘ ชั่วโมงไร้สาระ ๘ ชั่วโมง
ไปเรียนนอกสถานที่
ขั้นตอนที่ ๒ "ส่งเสริม" และ "ฝึกหัด"
เริ่มต้นจาก "ทัศนคติ"
ขั้นตอนที่ ๓
ในขั้นตอนการ "ส่งเสริม" และ "ฝึกหัด"
ผู้สอน จะต้องให้ผู้เรียน
"คัดกรอง" "คัดสรร"
เลือกและออกแบบ
"งานในฝัน"
แล้วให้ผู้เรียน
ได้วิเคราะห์
"ความสำเร็จ"
หรือ "ผลสำเร็จ"
ของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
ที่เป็น "อาชีพในฝัน" ของผู้เรียน
ขั้นตอนที่ ๔
ส่งเสริมให้ผู้เรียน "สร้าง"
ผลงาน ด้วยตนเอง
มหาวิทยาลัย
ต้องสร้างบรรยากาศ
"องค์การแห่งการเรียนรู้"
โดยใช้ "สื่อออนไลน์"
อย่างเฟซบุ้ก ยูทุบ เป็นต้น ช่วย
หา "สุภาษิต" คำคม บ่มชีวิต
หา "คนต้นแบบ"
หา "องค์กรต้นแบบ"
มาเป็นแรงบันดาลใจ คนดลใจ
สร้างกำลังใจผู้เรียนให้มีความคิด
ความฝัน ความหวัง และจินตนาการกว้างไกล
"หนังสือดีๆ" น่าอ่าน
ต้องแนะนำให้อ่านไปด้วย
ทำงานไปด้วย
จะมี "บรรยากาศ" ที่ส่งเสริม "องค์การแห่งการเรียนรู้"
มีลักษณะคล้ายยก "ห้างสรรพสินค้า"
"ภัตตาคาร" "ร้านกาแฟ"
และ "ห้องสมุดออนไลน์"
มาไว้ด้วยกัน
ผู้เรียนและผู้สอน
ใช้ IPAD หรือ Notebook
หรือ Smartphone
ตัวเดียว
ก็ทำงานได้ไม่แตกต่างจากนั่งทำงานด้วยเครื่อง
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ อยู่กับที่
เทคโนโลยีทันสมัย
ทำให้รู้สึกว่า "งานในฝัน" กับ "ชีวิตจริง"
ไม่แตกต่างกัน
"ห้องสมุดออนไลน์"
เป็นอีกแหล่งเรียนรู้
ที่ผมมองว่าสำคัญและจำเป็น
แต่ "ร้านหนังสือใหญ่ๆ" อย่าง
Kinokuniya สาขาสยามพารากอน
หรือ B2S สาขาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ได้สร้างบรรยากาศ และส่งเสริมผู้อ่าน
ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ขั้นตอน "สร้าง" ผลงานเป็นของตัวเอง
จะไม่มีทางเกิด
ถ้าขั้นตอนการเรียนการสอน
ยังจบอยู่แค่ "เลคเชอร์"
ดังนั้น "ผลงาน" จะเกิดได้
ก็เพราะ "การสอนแบบเน้นการมีงานทำ"
สร้างตัว สร้างฐานะได้รวดเร็ว
เพราะผสมผสาน
หลักคิด
หลักทำ
หลักธัมมะ
ได้ลงตัว
วันนี้ มหาวิทยาลัยที่สอน
เน้นพยาบาล บริบาล แพทย์ วิศวะ
หรืออย่าง CP7-11 ก็ทำ
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์
สร้างคนทำงานกับ 7-11
ให้มีปริญญาไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้
คือเรียนหนังสือไปด้วย
ได้เงินใช้ด้วย
ได้งานทำด้วย
-------
ขั้นตอนสุดท้าย
มหาวิทยาลัย
ต้องส่งเสริมผู้เรียน
ให้ "คิดแล้วคลิก"
เรียนทฤษฎีจบ
นำหลักวิชาการไปใช้งาน
มีไหวพริบปฏิภาณ
แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
แก้โจทย์ยากได้
ทันท่วงที
สิ่งที่ผมเห็นว่ายังขาดคือ
การนำ "ผู้เรียน"
ไปเรียนรู้สิ่งที่สุดขั้ว
ตรงกันข้ามกับ "ธรรม"
ผมเรียก "อธรรม"
ถ้าเราอยากให้คนในบ้านเมือง
รักอิสรภาพ
เกลียดและกลัว "อาชญา"
ก็ต้องจัดคอร์ส
ให้ผู้เรียนเห็นโทษ
ของการ "ละเมิด" ทำผิด "กฎหมาย"
ให้คนรุ่นหนุ่มสาว
เห็นขั้นตอน
กระบวนการยุติธรรม
ครบถ้วนตลอดสาย
ได้เห็นเล่ห์เหลี่ยม
กระบวนการอยุติธรร
วงจรอุบาทว์
หลุดเข้าไปแล้ว
หลงทางเข้าไปแล้ว
จะแก้ตัวแก้ต่าง
เอาตัวรอดจากกลุ่มคนอาสัตย์อาธรรม์ได้อย่างไร?
มหาวิทยาลัยต้องสอน
ว่าที่บัณฑิตให้รู้เท่าทัน
ด้านมืดด้านสว่าง
มีความรู้ด้านนิติศาสตร์
ไว้คุ้มกันภัย ป้องกันตัว
เรียนรู้ระบบ "อาชญากร-อาชญากรรม"
ตั้งแต่ชั้นทนาย ตำรวจ อัยการ ศาล เรือนจำ
ควบคู่กับการไปวัดไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญ ใส่บาตร
กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำห้องส้วมสาธารณะ
เก็บกวาดขยะ ช่วยกันดูแลสมบัติสาธารณะ
เริ่มต้นจากคลุกคลีกับสามเณร พระหนุ่ม
พระเถระ พระสายต่างๆ ทั้งวัดบ้าน วัดพัฒนา วัดป่า
จะทำให้ว่าที่บัณฑิตตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
รู้จักบาปบุญคุณโทษ
สอนโดยไม่ต้องสอน
เปิดมหาวิทยาลัยให้นักศึกษา
ได้คลุกคลีกับแวดวงธุรกิจ
ที่เป็น "ตัวจริง" และ "สำเร็จ" จริง
จากหอการค้า
สภาอุตสาหกรรม
ทำเนียบรัฐบาล
รัฐสภา
วุฒิสภา
เพื่อได้มาซึ่ง connection
การเชิญ "ผู้รู้" อย่างสถานทูตแต่ละประเทศ
ซึ่งมีทูตพาณิชย์
มาเล่าโอกาสและช่องทาง
ความเป็นไปได้
การค้าขาย
กับนานาชาติ
"เงินทองต้องรู้"
โลกที่เป็นจริง
วิชาการ
ต้องสัมพันธ์กับ
วิชาชีพ
ไม่อยากให้เด็กเป็นโจร
ก็ต้องให้เรียนรู้วิธีคิดแบบโจร
อยากให้บัณฑิตเป็นคนดี
ก็ต้องจัดการเรียนการสอน
ให้ทะลุมิติ
ได้เรียนรู้ใครจริงใครเลว
ใครพูดแล้วทำได้จริง
ใครพูดแล้วทำไม่ได้ตามคำพูด
หลักคบพาลและบัณฑิต
ก็เป็นอีกหลักที่ต้องให้เด็ก "ตกผลึก"
การจัดการศึกษาให้ได้ผล
ต้องสร้างคนที่สำเร็จ
สำเร็จแล้วนำมาเป็นตัวอย่าง
ทำซ้ำ บอกต่อ
เป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่าง
เป็นแบบอย่าง นำพารุ่นน้อง รุ่นหลังไปทำงาน
เหมือนระบบวิศวะจุฬาฯ แพทย์จุฬาฯ ทำ
วิศวะเกษตร วิศวะพระจอมเกล้าฯ
ก็ลอกเลียน และต่อยอด
นำไปทำซ้ำ และบอกต่อความสำเร็จกัน
ในวงกว้าง
คนเราจบมา
มีงานทำ มีวงการ
มีเพื่อนคุย มีข้าวกนิ
ก็จะมีเงินเหลือ
ไปทำบุญ ทำการแบบจิตอาสาได้
ไม่มีเงิน ไม่มีงาน
จะเอาเวลาที่ไหน
ไปช่วยเหลือสังคม
สถิติบ่งชี้ว่า
คนจะก้าวหน้าหรือล้าหลัง
อยู่ที่ "คน" และ "องคกร" ที่ตนเลือกคบหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น