วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566

"ผู้นำ 193 ประเทศ-เศรษฐา" ทยอยเข้าร่วมเวทียูเอ็น ถกแนวแก้จนพัฒนาที่ยั่งยืน



เมื่อวันที่  19 กันยายน 2566 บรรยากาศที่ศูนย์ประชุมภายในอาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ได้เตรียมพร้อมต้อนรับประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ ทั้งสถานที่พักของผู้นำ ถนนทุกสาย รวมไปถึงที่ศูนย์ประชุมแห่งนี้ ตรวจตราบุคคลที่จะเข้า-ออก ต้องติดบัตรแสดงตนและจุดตรวจกล้อง รวมถึงจัดเตรียมเต๊นท์รองรับสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจมาร่วมทำข่าวจากทั่วโลก

ทั้งนี้ ภายในสถานที่การประชุม มีการตกแต่งด้วยตราสัญลักษณ์ หรือโลโก้ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย อาทิ การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ การขจัดความหิวโหยมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ความเท่าเทียมทางเพศ พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเผยแพร่วาระการพัฒนาระดับโลกนี้เป็นที่รู้จักและเร่งรัดให้ประเทศต่างๆ ผลักดันวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสิ่งที่จะทำในอีก 7 ปีข้างหน้าให้บรรลุเป้าหมาย

@siampongnews ชุดจี้พร้อมแหนบกลัด #3พระอรหันต์ร้านต้นฉบับ ♬ Ready - Official Sound Studio

สำหรับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเดินทางถึงในเวลา 02.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลา 14.20 น.ของประเทศไทย เมื่อเดินทางถึงสหรัฐอเมริกา จะปฎิบัติภารกิจแรก โดยเข้าร่วมประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Summit และกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม โดยนายกรัฐมนตรี จะแสดงจุดยืนตามนโยบายรัฐบาลไทยในการเชื่อมโยงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ใน 3 หัวข้อหลักคือ การลดความเหลื่อมล้ำ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ระหว่างการเดินทางนายเศรษฐา  โพสต์ข้อความลงโซเชียลมีเดีย ระบุว่า การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 78  #UNGA78 จะเป็นภารกิจต่างประเทศอย่างเป็นทางการแรกของรัฐบาลใหม่ เพื่อแสดงบทบาทใหม่ของไทยที่จะเปลี่ยนไปให้กับเวทีโลกเห็น ผมตั้งใจจะขับเคลื่อนการดำเนินการต่างๆ เพื่อบรรลุ #SDGs ความสำคัญในการยึดมั่นระบบพหุภาคี และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายและความต้องการของประชาคมโลกในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระดมทุนเพื่อการพัฒนา และสิ่งแวดล้อมสีเขียว และด้านอื่นๆ อย่างครอบคลุม

เดินหน้าเต็มที่เพื่อประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน และกระชับความสัมพันธ์กับผู้นำจากนานาประเทศ เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความมั่งคั่ง รวมทั้งความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...