วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566

“เพิ่มพูน เสมา 1” แนะ ผอ.สพท.ยึดอริยสัจโมเดลบริหารงาน



เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ที่สวนนงนุชพัทยา จ.ชลบุรี วันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดประชุมผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า ขอฝากนโยบายของตนคือ เรียนดีมีความสุขให้ ผอ.สพท. และผู้บริหารสถานศึกษานำสู่การปฏิบัติ คือ ความสุขของครูและนักเรียน และขอฝากให้ครูได้เข้าไปกรอกแบบสอบถามว่า อยากให้ตนทำนโยบายใดบ้างที่เร่งด่วนและมีความสำคัญ อยากให้ช่วยเหลือครูในด้านไหน หรือนโยบายใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข

ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า พล.ต.อ.เพิ่มพูนมีนโยบายที่จะลดภาระครู นักเรียน และผู้ปกครอง และขอให้ ผอ.สพท.ทุกคนได้นำนโยบายของ รมว.ศธ.ลงสู่การปฏิบัติด้วย ที่สำคัญคือการนำหลักอริยสัจสี่มาใช้ในการดำเนินชีวิต เพราะเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแก้ปัญหาต่างๆได้ ส่วนเลขาธิการ กพฐ.คนใหม่ที่อยากได้มาต่อยอดนั้น ตนมองว่า สพฐ.เป็นองค์กรขนาดใหญ่ หากไม่ได้บุคคลที่เข้าใจงานก็ต้องมานั่งเรียนรู้กันใหม่ และผลกระทบที่จะตามมาคือความล่าช้าไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น หากได้เลขาธิการ กพฐ.ที่มีต้นทุนมีความเข้าใจก็จะต่อยอดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพราะเราเจอวิกฤติทางการศึกษาจากสถานการณ์โควิดที่สูงมาก หากต้องมาจมกับการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกทิศทางจะเป็นปัญหาภายหลัง ตนห่วงเรื่องการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาสุขอนามัยนักเรียน ปัญหาสังคม เราจะต้องทำให้เด็กและครูมีความสุขก่อน พร้อมกับติดอาวุธทางปัญญาให้แก่ผู้เรียนด้วย เพื่อให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็นและมีทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดจากสังคมได้ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อริยสัจ หรือ จตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

@siampongnews ชุดจี้พร้อมแหนบกลัด #3พระอรหันต์ร้านต้นฉบับ ♬ Ready - Official Sound Studio

ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ( ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ ) ( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด ) จาโค ความสละตัณหานั้น , ปะฏินิสสัคโค   ความวางตัณหานั้น , มุตติ  การปล่อยตัณหานั้น , อะนาละโย  ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น [1]

มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่นิโรธหรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ

1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ

2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ

3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ

4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ

5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ

6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ

7. สัมมาสติ ระลึกชอบ

8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้

1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ


ผู้สื่อข่ายรายงานด้วยว่า อริยสัจ 4 ยังสามารถสรุปลงให้หลักของการใช้เหตุและผล ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของความเป็นมนุษย์ที่ต่างจากสัตว์ทั่วไป พร้อมกันนี้ยังสอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่อง...