วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ "มจร" สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งเดียวของประเทศไทย ผ่านการประเมิน EdPEx200 รุ่นที่ 10 ของ "สปอว."



เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : EdPEx200 รุ่นที่ 10 พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ให้นำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพขององค์การทางการศึกษาและกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษามีความตระหนักในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ



วันที่ 18 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการตรวจประเมิน EdPEx200 ที่แต่งตั้งโดย สปอว. นำโดย ผศ.เสาวลักษณ์ สุขประเสริฐ ประธานคณะกรรมการ นายกิตติพงษ์ เตมียะประดิษฐ์ กรรมการ และผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันต์สันต์ กรรมการ ได้เดินทางมาตรวจประเมินแบบ Site Visit วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร พร้อมทั้งซักถามบุคลากรเกี่ยวกับการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการเพื่อความเป็นเลิศ (EdPEd) มาปรับใช้ในการบริหารองค์กร 



ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะกรรมการได้แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานที่สอดรับกับเกณฑ์ให้บุคลากรของวิทยาลัยได้นำไปปรับใช้พัฒนาองค์กร เพื่อให้มี High Performance ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลต่อการยกระดับให้ IBSC ตอบโจทย์สติ ปัญญาและคุณธรรมแก่สังคมโลกต่อไป

ในการประชุมครั้งที่  9/2566 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 สปอว. ได้ประกาศผลการตรวจประเมินอย่างเป็นทางการผ่านเวปไซต์ www.edpex.org พบว่า IBSC MCU เป็นหนึ่งใน 21 สถาบันที่ผ่านการประเมิน EdPEx 200 โดยรอบแรกมีสถาบันส่งเข้ารับการประเมิน 144 สถาบัน และผ่านการ Screening 41 สถาบัน 



เป็นที่น่าสังเกตว่า  IBSC เป็นสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ผ่านการประเมินด้วย EdPEx 200 รุ่น 10  และจากนี้ไป IBSC จะยกระดับเพื่อขอรับการประเมิน EdPEx300 และ TQC  ในลำดับต่อไป เพื่อความยั่งยืนขององค์กร





พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาจุฬาฯ กล่าวว่า การผ่านการประเมิน EdPEx 200 จะทำให้สามารถช่วยตอบคำถามว่า IBSC จะอยู่ตรงไหนของแผนที่ประเทศไทย และ IBSC จะอยู่ตรงไหนของแผนที่โลก คำถามนี้เป็นการถามถึงตำแหน่ง (Positioning) ของ Brand IBSC หรือยี่ห้อสถาบันการศึกษาที่เรียกว่า IBSC ที่เป็นสถาบันลูกของ MCU หรือมหาจุฬาฯ  ที่เพียรพยายามออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเองให้เป็นน่าจดจำของสังคมโลก (Perception) แล้วทำให้สังคมไทยและโลกใบนี้ตอบได้ว่า ทำไมต้องมี IBSC อยู่บนแผนที่ประเทศไทยและโลกใบนี้ (Awareness)

 การมีอยู่ของ IBSC มิใช่มีเพื่อสักแต่ว่ามี แต่เป็นการมีที่พร้อมจะส่งมอบสมรรถนะหลักที่ตัวเองเชี่ยวชาญให้โลกได้รับคุณค่าด้านสติ ปัญญาและคุณธรรมตามต้องการและความคาดหวังของกฏกระทรวงที่มุ่งให้เป็นสถาบันพัฒนาปัญญาและคุณธรรม การเข้าไปอยู่ในตลาดนัดวิชาการที่มี EdPEx เป็นตัวคัดกรองว่า IBSC เป็นหนึ่งในยี่ห้อที่ถูกจัดวางไว่ในตลาดนัดวืชาการแห่งนี้ ควบคู่กับ Brand ต่างๆ ที่มาจากสถาบันชั้นนำทั้ง มหิดล จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ขอนแก่น สงขลา และเชียงใหม่ฯลฯ ย่อมเป็นโอกาสให้ผู้คนที่มาตลาดนัดแห่งนี้ได้เห็นและรู้จัก IBSC ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และพร้อมจะใช้ประโยชน์จากคุณค่าที่ IBSC มีและเป็น

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

 IBSC จะได้ถือจังหวะและโอกาสนี้ นำเสนอสติ สมาธิ ปัญญา และคุณธรรมผ่านการทำ Packgaging ให้สมสมัย และเหมาะแก่การใช้สอยเพื่อดับทุกข์ในเรือนใจ ในขณะที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อดับทุกข์ข้างนอกและตอบโจทย์ทางกายภาพ การจัดวางตำแหน่งของ IBSC อยู่ในตลาดนัดหรือแผนที่ประเทศไทยและสังคมโลกจึงมีแง่มุมที่แตกต่างจากสถาบันอื่น การดำรงอยู่ของ IBSC จึงมีในสิ่งที่คนอื่นไม่มี และตอบโจทย์ในสิ่งที่สถาบันอื่นให้ไม่ได้  

ทั้งหมดคือความพิเศษของเครื่องมือของ EdPEx ที่ใช้เป็นเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศอันเดียวกันของทุกสถาบัน แต่เป็นการนำเกณฑ์ไปปรับใช้ให้สอดรับกับบริบทขององค์กร (OP) ซึ่งต่างจาก IQA ที่มุ่งประกันแบบ One for All อันเป็นการประกันแบบ Checklist ประกันเพื่อประกัน จนมองไม่เห็นจุดเด่นของความแตกต่าง (Differentiation) และขับเคลื่อนคุณค่าที่แตกต่างให้สังคมโลกได้เรียนรู้ และสัมผัสบทเรียน และประสบการณ์ที่แปลกใหม่สอดรับกับบริบทและสมรรถนะหลักขององค์กรนั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...