เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย( มจร) ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เข้าร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการ ภายใต้หัวข้อ "136 ปี มหาจุฬา ฯ สร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม" โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย
1.)ดร.อดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาล ได้สะท้อนประเด็นสำคัญว่า มหาจุฬาต้องเป็นหลักวิชาการเพื่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์สู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมหาจุฬาต้องกล้ายกย่องศิษย์เก่า ซึ่งมหาจุฬามีความยิ่งใหญ่ โดยพระพุทธศาสนาทำให้คนเย็นลง มีความสงบเย็น ในอนาคตอยากให้มหาจุฬาเป็นแหล่งเรียนรู้ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จึงขอปวารณาในการรับใช้มหาจุฬาและพระพุทธศาสนา แต่ขอให้มหาจุฬาอันเป็นสถาบันการศึกษาในทางพระพุทธศาสนาขอให้ยึดหลักการทางพระพุทธศาสนา
จึงขอยืนยันว่าไม่มีใครแตกฉานด้านพระพุทธศาสนาเท่ากับมหาจุฬาแล้ว คำถามว่า เวลามีปัญหาทางสังคมต่างๆ มหาจุฬาจะมีส่วนร่วมอย่างไร ? นำสังคม หรือ ตามสังคมอย่างไร จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างไร ? เรามาถึง ๑๓๖ ปีถือว่าไม่ธรรมดา จะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีให้เท่าทันเพื่อการสื่อสารธรรม เอามุมมองด้านพระพุทธศาสนาไปมองประเด็นทางสังคมเพื่อตอบโจทย์
2)พลตรี ดร. ไชยนาจ ญาติฉิมพลี อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่า มจร สะท้อนประเด็นสำคัญว่า มหาจุฬาถือว่าเป็นสถาบันที่สร้างพุทธนวัตกรรมพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างแท้จริง โดยได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปบูรณาการพัฒนาจิตใจให้กับทหาร มีการนำไปการสอนโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยพุทธนวัตกรรมจะต้องครอบคลุมถึงวิปัสสนากรรมฐาน โดยไม่ทิ้งหลักสำคัญในทางพระพุทธศาสนา จึงยืนยันว่าการพัฒนาจิตใจถือว่าเป็นหลักพุทธนวัตกรรม จะต้องภูมิใจในความเป็นมหาจุฬาจะต้องเป็นหนึ่งในใจของตนเองแล้วเป็นหนึ่งในใจคน
@siampongnews ชุดจี้พร้อมแหนบกลัด #3พระอรหันต์ร้านต้นฉบับ ♬ Ready - Official Sound Studio
3)นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) สะท้อนประเด็นสำคัญว่า มหาจุฬามีความเป็นอัตลักษณ์ในการพัฒนาจิตใจของผู้คนถือว่าเป็นนวัตกรรมโดยหลักสูตรมีการปรับให้เหมาะกับสังคมปัจจุบัน เรียนมหาจุฬาจึงได้เปรียบมากเพราะมีการบูรณาการทางด้านจิตใจ ซึ่งลักษณะพิเศษของคนจบมหาจุฬา สามารถวางตนเหมาะสม เขียนหนังสือเก่ง ใช้หลักสัปปุริสธรรม เช่น รู้เหตุ รู้ผล รู้ชุมชน รวมถึงใส่เนื้อหาเข้าไปในการสื่อสารทางสังคม สามารถเป็นพิธีกรเป็นที่พึ่งขององค์กรที่ทำงาน จึงต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดรับกับปัจจุบัน โดยนำพุทธศาสนาเข้ามาบูรณาการผ่านคำว่าเชิงพุทธ ถือว่ามีความได้เปรียบอย่างยิ่ง ถือว่าสนองปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ด้วยการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง ซึ่งหลักสูตรปริญญาอาจจะไม่ตอบโจทย์คนในปัจจุบัน แต่หลักสูตรระยะสั้นจะทำให้คนสนใจเรียนรู้มากขึ้นผ่านคำว่า "พุทธนวัตกรรม" เพราะผู้คนมีความหลากหลายในยุคปัจจุบัน มหาจุฬามีอัตลักษณ์ที่ต้องนำพุทธนวัตกรรมมาบูรณาการ ซึ่งอัตลักษณ์ของมหาจุฬาคือ พระพุทธศาสนานำหน้าศาสตร์สมัยใหม่
@siampongnews กาแฟดำจินดา 1 แถม 1 [กาแฟดำ 1 + โกโก้ 1] ลดราคาเหลือเพียง ฿390.00! #คนจนมีสิทธิไหมคะ ♬ Cooking Time - Lux-Inspira
สถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นหลักให้กับประเทศว่าในมิติของวิชาการควรจะเป็นอย่างไร ? จึงต้องวิจัยให้เกิดนวัตกรรมซึ่ง มจร จะต้องเป็นพุทธนวัตกรรม รวมถึงบริการให้กับสังคมด้วยการเป็นที่พึ่งให้กับสังคม ซึ่งทิศทางในอนาคตจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นนโยบายของรัฐบาลและสังคมโลก สอดรับกับกฎกระทรวงจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย โดย มจร กับ มมร อยู่ในกลุ่มปัญญาและคุณธรรม จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปัจจุบัน จะต้องมีตัวชี้วัดให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการขอตำแหน่งทางวิชาการยังสามารถนำงานที่ทำกับชุมชนไปขอตำแหน่งทางวิชาการได้
ท้ายสุดพระธรรมวัชรบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำไหว้พระบูชาพระรัตนตรัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น