วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566

"เจ้าคุณประสาร" ร่วมเสวนา “ครูกายแก้ว : ความเชื่อใหม่ท้าทายสังคมยุค AI”



เมื่อวันที่ 9  กันยายน 2566 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “ครูกายแก้ว : ความเชื่อใหม่ท้าทายสังคมยุค AI” จัดโดย สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขับเคลื่อนโดย รศ.ดร.ธัชชนันนท์ อิศรเดช นายกสมาคมศิษย์เก่า มจร และคณะกรรมการสมาคม โดยมีผู้ร่วมการเสวนาวิชาการประกอบด้วย 

1)พระราชวัชรสารบัณฑิต, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มจร  สะท้อนประเด็นสำคัญว่า โลกยุคใหม่มีความรวดเร็วมนุษย์มีความเปราะบางมีความกลัวจึงพยายามหาที่พึ่งทางจิตใจ ซึ่งบางอย่างที่พึ่งอาจไม่สามารถหาเหตุผลได้ แต่แท้จริงเหตุผลไม่จำเป็นจะต้องถูกแต่สิ่งที่ถูกจำเป็นต้องมีเหตุผล ซึ่งปัจจุบันมีการบูรณาการบางครั้งแยกกันไม่ระหว่างพุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์ แต่เมื่อศรัทธาสิ่งใดจะต้องมีปัญญากำกับเสมอ ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายของคณะสงฆ์และมหาวิทยาลัยสงฆ์ในฐานะมหาวิทยาลัยด้านพระพุทธศาสนาระดับโลก จึงต้องตั้งคำถามว่าเราจะพัฒนาสาวกอย่างไรใน 3 ประเด็นประกอบด้วย 1)การศึกษาของสาวก 2)การเผยแผ่ของสาวก 3)การขับเคลื่อนองค์กรชาวพุทธ ควรมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อไปมิทิศทางที่เป็นสัมมาทิฐิ 

@siampongnews มุ้งคอกเลี้ยง#ตั๊กแตน ♬ Tere Baad Nazar Nhi Aati Koi Manjil - Deepak Kurai

2)ศ.พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต สะท้อนประเด็นสำคัญว่า ยังไม่สามารถหาความหมายของคำว่าไสยศาสตร์ว่าแท้จริงว่าคืออะไร อย่างไร แต่สิ่งที่สะท้อนในสังคมไทยคือ คนไทยชอบขอชอบอ้อนวอนเพื่อสนองกิเลสเพิ่มกิเลสของตนเอง จึงไม่ควรใช้คำว่าบวงสรวงภายใต้พระพุทธศาสนาแต่ควรใช้คำว่าเทวดาพลี ซึ่งเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธเจ้ามุ่งให้เป็นมิตรกับเทวดาไม่ควรเป็นศัตรูกับเทวดา ในระดับโสดาบันขึ้นไปจะไม่บนบานไม่บวงสรวงใดๆ คำถามคนที่ไปขอหรือไหว้บูชารูปปั้นต่างๆ ล้วนเป็นคนที่นับถือพระพุทธศาสนา คำถามเพราะเหตุใดชาวพุทธจึงต้องพึ่งสิ่งเหล่านั้น ถือว่าเป็นโจทย์ของพระพุทธศาสนา แต่ถึงจะเชื่อในมิติต่างๆ แต่หัวใจยังเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ความเป็นไสยศาสตร์กับพุทธศาสตร์มีความกลมกลืนกัน ราชบัณฑิตจึงย้ำว่าระดับโสดาบันขึ้นไปเท่านั้นจะไม่ไหว้ไม่ขอเพราะไม่อยากมีอยากเป็นแล้ว โดยความเชื่อแตกต่างกันไม่ควรว่าใครเพราะมีความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ 

@siampongnews #หนังสือสวดมนต์กระแตปกแข็ง ♬ Dj Jalan Pargoy X Goyang Jaypong - DJ MIFTAH

3)ดร.สัจภูมิ ละออ  ผู้เชี่ยวชาญด้านเขมรศึกษา สะท้อนประเด็นสำคัญว่า เราควรเดินทางตามสายขาวคือปฏิบัติตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ส่วนสายดำไม่ควรเข้าใกล้ ซึ่งพิธีกรรมต่างล้วนแยกกันไม่ออกระหว่างพุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์ เช่น การไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ การไหว้บรรพบุรุษ การไหว้พระรัตนตรัย ซึ่งมีปัจจัยมาจากระบบโครงสร้างทางสังคมที่คนต้องการที่พึ่งอยากได้อยากมีอยากเป็นอะไรที่มองว่าพึ่งได้จึงพยายามบูชา แต่ต้องมีสติไม่ควรไปเกี่ยวข้องกับสายดำทุกรูปแบบ โดยย้ำว่าศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งเป็นสายขาวเพียงพอต่อการดำเนินชีวิตในฐานะมนุษย์  

ท้ายสุดผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญานันท์ คุณฑลบุตรได้ร้อยกรอง “เห็นแก้วในกายแทนครูกายแก้ว” 


พื้นธรรมต่างมีบ้างสร้างปัญหา

ธรรมดาต่างจิตคิดขยาย

อวิชาก่อเรื่องในเบื้องปลาย

อาจเสียหายก็เพราะจิตคิดผิดไป

รัตนตรัยใจมั่นอันแน่วแน่

แก่นพุทธแท้เลือนรางจืดจางหาย

ครูกายแก้วคนไม่เห็นแก้วในกาย

สิ่งสุดท้ายสังคมล่มอาจซมซาน

เมื่อจิตตกยกให้เห็นเป็นมนุษย์

ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน

เสริมศรัทธามุ่งมั่นปัญญาญาณ

บนพื้นฐานชีวิตเพ่งพิศธรรม

ใช้ปัญญาเป็นอาวุธคือพุทธแท้

อย่างเพียงแต่โง่งมจมถลำ

ให้คนหลอกจูงจมูกถูกครอบงำ

จนชอกซ้ำชั่วชีวิตคิดผิดทาง 

 


@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลงภูพระบาทมรดกโลก

  แต่งโดยส.สมพงษ์  สร้างสรรค์โดย suno  (Verse 1) ภูพระบาท ส่องแสงเจิดจ้า มรดกโลก ยกย่องมา วัฒนธรรมไทย งดงาม อุดรธานี ภูมิใจ (Chorus) สีมาทว...