ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"สสส." สานพลัง "มศว" สร้างสุขภาวะชุมชน ดันมหาวิทยาลัยแห่งความสุข สู่นโยบาย"กระทรวง อว."



สสส. สานพลัง มศว ขับเคลื่อนพื้นที่สุขภาวะ ในชุมชนเขตวัฒนากว่า 2,300 ครัวเรือน พร้อมผลักดัน มหาวิทยาลัยแห่งความสุข สู่นโยบายกระทรวง อว.

เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2566 ที่โรงแรมแลงคาสเตอร์ กรุงเทพฯ นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ขับเคลื่อนองค์กรมหาวิทยาลัยสุขภาวะร่วมกับการสร้างพื้นที่สุขภาวะเพื่อสังคม หรือ มหาวิทยาลัยแห่งความสุข คือ การส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กร นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และชุมชนรอบมหาวิทยาลัย เป็นองค์กรสุขภาวะ คนทำงานมีความสุข ด้วยสถานที่ทำงาน สภาพแวดล้อมที่ดี โดยบูรณาการให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัย ภาครัฐ เอกชน และชุมชน ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 7+1 ของ สสส. เพื่อขยายผลการสร้างพื้นที่สุขภาวะที่ยั่งยืน มุ่งสร้างเสริมสุขภาวะในกลุ่มองค์กร (Happy Workplace) ในมหาวิทยาลัย 176 แห่ง ที่มีบุคลากรกว่า 2 แสนคน และมีนักศึกษา 1.7 ล้านคน


@siampongnews ชุดจี้พร้อมแหนบกลัด #3พระอรหันต์ร้านต้นฉบับ ♬ Ready - Official Sound Studio

“ปัจจุบันมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข 72 แห่ง ได้นำชุดความรู้ สื่อ เครื่องมือ นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะของ สสส. ที่ส่งเสริมการมีสุขภาวะดีทั้ง 4 มิติ ครอบคลุมเรื่องสุขภาพที่สำคัญ อาทิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ยาเสพติด บุหรี่ อาหาร กิจกรรมทางกาย อุบัติเหตุ สุขภาพจิต มลพิษทางสิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยงอื่น เพื่อปรับใช้เป็นเครื่องมือเสริมความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ ปรับทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม สู่การเป็นต้นแบบองค์กรสุขภาวะ โดย สสส.และเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข ได้ร่วมผลักดัน ข้อเสนอนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุขอย่างยั่งยืน” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว




ร.ศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์เพื่อสังคม มศว. กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ขององค์กรอุดมศึกษาสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม จากกลุ่ม SWU Well-Being Club หรือกลุ่มขับเคลื่อนสุขภาวะ มศว. มีนิสิต 70 คนและอาจารย์ 9 คนจาก  8 คณะ ร่วมขับเคลื่อนเครือข่ายองค์กรสุขภาวะในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัย 5 ชุมชน เขตวัฒนากว่า 2,300 ครัวเรือน มีชุมชนแจ่มจันทร์ ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน ชุมชนพัฒนาบ้านสามอิน ชุมชนข้างสะพานคลองตัน และชุมชนมีสุวรรณ 3 ด้วยความร่วมมือระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัย สมาชิกชุมชนในเขตวัฒนา สาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง สำนักงานเขตวัฒนา กทม. และ สสส. สร้างพื้นที่สุขภาวะที่ดีทั้งทาง กาย ใจ ปัญญา ภายใต้กรอบ 4 อ 1 ส อากาศ อาหาร อารมณ์ ออกกำลัง สุขอนามัย


“กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะของคนในชุมชน เน้นการรับฟังปัญหาเรื่องสุขภาวะ ส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ เพื่อลดความเสี่ยงโรค NCDs ความดัน การออกกำลังกายด้วยการเดิน-ยางยืด ความรู้เรื่องบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และจัดหากิจกรรมบอร์ดเกมให้เด็ก ๆ ในชุมชน พบว่ามีการเข้าใช้เครื่องตรวจวัดความดันในศูนย์สุขภาพเป็นประจำ มีการรวมตัวกันออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น มีการนำยางยืดมาใช้ออกกำลังกายจริง นำสื่อเรื่องบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าที่ได้ไปติดแถวบริเวณบ้าน และเด็ก ๆ เล่นบอร์ดเกมเพิ่มขึ้นในวันหยุด” ร.ศ.ดร.ชลวิทย์ กล่าว

@siampongnews กาแฟดำจินดา 1 แถม 1 [กาแฟดำ 1 + โกโก้ 1] ลดราคาเหลือเพียง ฿390.00! #คนจนมีสิทธิไหมคะ ♬ Cooking Time - Lux-Inspira

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รากและเถาตำลึงตากแห้งสรรพคุณเพียบ

วันนี้ 17 กรกฏาคม 2562 สำหรับประโยชน์ของตำลึงด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบตำลึง ลำต้นตำลึง และ รากตำลึง รายละเอียด ดังนี้ ใบตำลึง สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมความเซลล์ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงหัวใจ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงน้ำนมแม่ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยดับพิษร้อน ลดความร้อนในร่างกาย  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับพิษในลำไส้ แก้ท้องผูก ช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ ป้องกันตะคริว รากตำลึง สรรพคุณช่วยลดไข้  แก้อาเจียน บำรุงสายตา เป็นยาระบาย แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ ลำต้นตำลึง สรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการตาแดง ลดอาการตาช้ำ ดอกตำลึง สรรพคุณแก้ผดผื่นคัน เมล็ดตำลึง สรรพคุณแก้หิด โทษของตำลึง ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเม

พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม เนื้อทองคำ จากรังของ นายกฯกิตติ "เจ้ากรมพระหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่"

พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ ๑๙ องค์ เนื้อเงิน ๒๙๕ องค์ เนื้อนวโลหะ ๒๕๑๘ องค์ โดยสร้างตามจำนว พ.ศ. หรือปีที่สร้าง คือ ๒๕๑๘ เนื้อนวโลหะกะไหล่ทอง ไม่ระบุจำนวนสร้าง เนื้อตะกั่ว ๑๐,๐๐๐๐ องค์...... พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่ทิม ท่านปลุกเสกนานมากถึง ๗ เดือน เหตุในการสร้างพระปิดตารุ่นนี้คุณชินพร สุขสถิตย์ได้จัดสร้างพระปิดตามหาอุตตโมขึ้น มาก็เพื่อนำรายได้มาสร้างหอฉันเพื่อให้พระเณรในวัดละหารไร่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา โดยพระชุดนี้ได้นายช่างเกษม เป็นผู้ออกแบบ การสร้างพิมพ์พระปิดตายันต์ยุ่งสมัยนั้นต้องเอาเทียนมาคลึงเป็นเส้นๆ แบบเส้นขนมจีน แล้วจึงเอาขดกัน เป็นองค์พระปิดตาและอักขระเลขยันต์กว่าจะสร้างได้หรือหล่อ ได้แต่ละองค์ต้องใช้เวลามากและพระที่ได้มักไม่งดงาม ดังนั้นพระปิดตาอุตโมรุ่นนี้นี้นายช่างเกษมจึงแกะจากหินอ่อนเป็นแม่แบบ ทำให้หล่อได้ปริมาณมาก โดยครั้งแรกจัดสร้างเป็นเนื้อนวะโลหะเมื่อเปิดจองแล้วปรากฎว่าหมดอย่างรวดเร็วจนได้เ

ฮือฮา! "ครม.ฮุน มาเนต" ตั้งอดีตสมเด็จพระราชาคณะเพิ่งสึกเป็นเลขาฯก.ต่างประเทศ

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างแถลงการณ์ของนายเฮง สัมริน อดีตประธานสมัชชาแห่งชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา ในการประชุมรัฐสภาชุดใหม่ของกัมพูชา ซึ่งมีขึ้นในวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ที่ระบุว่า พลเอก ฮุน มาเนต ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของ สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่แห่งประเทศกัมพูชา อย่างเป็นเอกฉันท์ โดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต กล่าวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา หลังการลงมติว่า วันนี้ ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของกัมพูชา @siampongnews ฮือฮา! ครม. #ฮุนมาเนต ตั้ง อดีตสมเด็จพระราชาคณะเพิ่งสึก ดำรงตำแหน่งเลขาฯ ก.ต่างประเทศ #ข่าวtiktok #tiktokshopครีเอเตอร์ ♬ เสียงต้นฉบับ - ดร.สำราญสมพงษ์นักข่าวป.ธ.5 ทั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา หรือ ซีพีพี ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย เนื่องจากพรรคฝ่ายค้าน ถูกตัดสิทธิลงเลือกตั้งในครั้งนี้  พร้อมกันนี้นางควน สุดารี ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติ วาระใหม่ 5 ปี และเป็นนักการเมืองหญิง