วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2566

นิสิตหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท-เอก "มจร" แสดงตนเป็นพุทธมามกะเข้าถึงความเป็นพุทธ



วันที่ ๓  กันยายน ๒๕๖๖ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า นิสิตหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท เอก มจร แสดงตนเป็นพุทธมามกะเข้าถึงความเป็นพุทธ โดยยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก  โดยพระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ย้ำว่า พุทธเทียมเป็นความเชื่อนอกเหนือในทางพระพุทธศาสนา แต่ความเป็นพุทธแท้เป็นการศึกษาเชื่อตนเอง เชื่อในศักยภาพของตนเอง  ทำให้นึกถึงบุคคลสำคัญในการสร้างสันติภาพให้คนประเทศอินเดียคือ ท่าน ดร.อัมเบดการ์ ซึ่งไม่สำคัญว่าคุณจะเป็นอะไร แต่สำคัญว่า คุณทำอะไร ชีวิต ดร.อัมเบดการ์ รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของคนอินเดียและชาวพุทธ ซึ่งชีวิตนี้มีภารกิจ ๒ ประการ ประกอบด้วย " ทำลายระบบวรรณะ และช่วยอินเดียเป็นเอกราชจากการยึดครองของอังกฤษ" 

ในสมัยเด็กนั้น ดร.อัมเบดการ์ เจอความรุนแรงด้วยวิธีต่างๆ จากคนวรรณะสูงกว่า ด้วยวิธีการดูถูก เหยียดหยาม ข่มเหง ไล่หนี ถือว่าเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่งในการอยู่ในสังคม เพราะดร.อัมเบดการ์เกิดมาในวรรณะจัณฑาล เรียกว่า โลกแทบไม่มีที่ว่างให้คนจัณฑาลอย่างเขา ได้หยัดยืนขึ้นมาอย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะมนุษย์เลย  แต่ดร.อัมเบดการ์ตอบโต้ด้วยการ  พลิกวิกฤตเป็นโอกาส แปรคำปรามาสเป็นพลัง  ด้วยการตั้งใจเรียนพร้อมกล่าวประโยคสำคัญว่า  "สักวันหนึ่งเราจะต้องถีบตัวเองให้สูงขึ้นไปเพื่อให้พ้นจากภาวะอันต่ำต้อยนี้ให้ได้ และการที่จะทำเช่นนั้นได้มีวิธีเดียว คือ ต้องตั้งใจเรียนให้ถึงที่สุด เพราะด้วย การศึกษา เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้คนจัณฑาลได้รับการยอมรับ " ปณิธานที่ก่อรูปขึ้นในใจอย่างเงียบๆ นี้เอง ส่งผลให้ดร.อัมเบดการ์เป็นเด็กเรียนดี ที่สอบคะแนนสูงสุดทุกวิชาในทุกการศึกษา เป็นการถีบตนเอง พัฒนาตนเอง เรียกว่า "ล้มเหลวแต่ไม่เคยล้มเลิก " จนเป็นบุคคลสำคัญเขียนรัฐธรรมนูญของอินเดีย ใช้มาถึงทุกวันนี้ เพราะ "การศึกษายกระดับคุณชีวิต" นั่นเอง 

@siampongnews ผ้ามุ้ง#ผ้ามุ้งกลดพระธุดงค์ ♬ Ready - Official Sound Studio

เป้าหมายหลักของ ดร.อัมเบดการ์ คือ " ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอินเดียโดยไม่สร้างแตกแยก " เพราะท่านมองว่าระบบวรรณะเป็นความบกพร่องใครเกิดมาในวรรณะเลวก็ต้องเลวอยู่ชั่วชาติ จะทำอย่างไรก็ไม่มีทางดีขึ้นมาได้ ท่านจึงต่อสู้แบบปฏิเสธอาวุธและความรุนแรง แต่ใช้ปัญญาและหลักศาสนาเป็นหลักสำคัญ  ดร.อัมเบดการ์เฝ้าถามตนเองว่า " สัตว์เดรัจฉานยังได้รับอนุญาตให้อยู่ในบ้านของคนในวรรณะได้ แล้วนี่ตัวเราเป็นคนแท้ๆ แต่ทำไมไม่มีใครให้การต้อนรับเราเลย ไปที่ไหนก็ถูกขับไล่ยิ่งกว่าสัตว์ เราจะปล่อยให้สภาพอย่างนี้ยังเป็นอยู่อีกนานสักเท่าไหร่กัน" ท่านจึงเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญอินเดียตอนหนึ่งว่า " ไม่ให้ประชาชนชาวอินเดียมีการเลือกปฏิบัติต่อกันและกันด้วนเหตุผลทางวรรณะ และวรรณะจัณฑาลนั้นก็ให้ยุบทิ้งเสียให้สิ้นซาก" ดร.อัมเบดการ์ร่างรัฐธรรมนูญผ่านเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ใช้เวลา ๒ ปี ๑๑ เดือน ๑๙ วัน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์จนถึงปัจจบัน ถือว่าเป็นการปฎิวัติทางสังคมอินเดีย ในการยกเลิกวรรณะ ซึ่งท้าทายมากเพราะอินเดียมีความเชื่อเรื่องวรรณะมายาวนาน 

รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ๑๖  พฤศจิกายน ๑๙๔๙ เป็นฉบับล้มเลิกระบบวรรณะปฏิวัติสังคม ประธานร่างคือ ดร.อัมเบดการ์ สาระสำคัญแบ่งออก ๔ ประการ คือ #ความยุติธรรม  #เสรีภาพ  #ความเสมอภาค  และ #ภราดรภาพ ท่านดร.อัมเบดการ์กล่าวว่า " เมื่อท่านเกิดมาในโลกใบนี้ ให้ท่านทิ้งอะไรไว้ในโลกนี้ เพื่อให้โลกจดจำ ถ้าท่านไม่ทำอะไรก็ไม่ต่างจากต้นไม้กับก้อนหิน มันก็สูญหายไปในที่สุด " เหตุที่ ดร.อัมเบดการ์มานับถือพระพุทธศาสนา เพราะการกระทำอันป่าเถือนของชาวฮินดูที่มีต่อจัณฑาลเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ปิดกั้นใคร มองทุกคนเสมอภาคกันในความเป็นมนุษย์ ไม่แบ่งชั้นวรรณะ  ทำให้ท่านกล่าวคำปฎิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และคำปฎิญญา ๒๒ ข้อ เช่น " ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง การมานับถือพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการเกิดใหม่ "  จึงมีประโยคยอดฮิตจากดร.อัมเบดการ์ว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู  แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"

ดร.อัมเบดการ์ เป็นผู้ฟื้นคืนชีพพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อคนอื่น เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ ในบ้านของคนอินเดียมีรูปดร.อัมเบดการ์บูชา "จากคนต่ำต้อยด้อยค่ายิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน สุดท้ายเขากลับได้รับการเทิดทูนจากมหาชนให้เป็นดั่งวีรบุรุษและเทพเจ้าองค์หนึ่งของอินเดีย" จึงได้รับฉายา ถึง ๑๔ ชื่อ คือ  ผู้ปลดแอกคนอินเดียออกจากระบบวรรณะ, คนไม่สำคัญของโลก แต่สำคัญสำหรับคนอินเดีย, จัณฑาลผู้เปลี่ยนโฉมหน้าอินเดีย,  ผู้นำศตวรรษแห่งความเสมอภาค,  บิดาแห่งอินเดียสมัยใหม่,  เพชรเม็ดงามของรัฐบาล, วิศวกรออกแบบอินเดีย, พิมพัง สรณัง  คัจฉามิ,  ผู้ปฏิวิติสังคมอินเดีย,  มหาบุรุษผู้นำพุทธศาสนากลับคืนสู่มาตุภูมิ, กลุ่มชาวพุทธใหม่, บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย,  มนุษย์กระดูกเหล็กฝีปากกล้า, และเพชรในสลัม   

จากการเรียนรู้ชีวิต ดร.อัดเบดการ์นำมาประยุกต์ใช้ คือ หลักขันติธรรม ซึ่งมีความอดทนต่อคำเสียดสี ต่อคำดูถูกมาตลอดตั้งแต่เด็ก ถูกการบลูลี่ จึงขอย้ำว่า การดูถูก หยาดหยามกัน เป็นสิ่งที่พึงระวังอย่างยิ่งเพราะเป็นการอ่อนไหวต่อความรู้สึก นำมาซึ่งความขัดแย้งภายในสังคมได้ โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร พระพุทธเจ้าจึงทรงย้ำว่าต้องมีความ "จริง ไพเราะ  เหมาะกาล ประสานสามัคคี  มีประโยชน์  ประกอบด้วยเมตตา"  ต่อเพื่อนมนุษย์ อย่าลืมว่าสิ่งที่พูดไป" ต้องประสานสามัคคีในสังคม "นักสื่อสารต้องพึงระวังอย่างยิ่ง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร

  "วิเคราห์   ทิฏฐิสังยุตต์  มูลปัณณาสก์  ทุติยเปยยาล  -   นวาตสูตร  - เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร - รูปีอัตตาสูตร - อรูปีอัตตาสูตร -รูปีจอร...